แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยเข้าข่ายสงสัยไข้หวัด2009


ไข้หวัด2009


แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยที่เข้าข่ายสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่  A(H1N1) (กระทรวงสาธารณสุข)
โดย นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา

          ผู้ ป่วย Influenza-like-illness คือจะมีไข้>38 องศาเซลเซียส ร่วมกับไอ เจ็บคอ อาจมีอาการอื่นๆ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดเมื่อย อาเจียน ท้องเสีย ทั้งนี้สามารถคัดแยกผู้ป่วยได้ 2 ประเภท คือ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีอาการดังนี้

1.สงสัยปอดอักเสบ จากอาการ หรือ CXR โดยอาการที่สงสัยว่าเป็นภาวะปอดอักเสบ ได้แก่

          1.1 หายใจเร็ว
           อายุ ไม่เกิน 2 เดือน RR>60/นาที
           อายุ 2-12 เดือน RR>50/นาที
           อายุ 1-5 ปี RR>40/นาที
           อายุ > 5 ปี RR>30/นาที
           เด็กโตและผู้ใหญ่ RR>24/นาที

          หรือ 1.2 dyspnea/chest pain

          หรือ 1.3 ฟังปอดได้ยินเสียงผิดปกติ

          หรือ  1.4 SpO2 at room air < 95%

          เมื่อมีอาการเหล่านี้ ให้ทำ CXR ทุกราย

 2 ซึมผิดปกติ

 3 กินไม่ได้ หรือได้น้อยกว่าปกติอย่างชัดเจน หรือมีภาวะขาดน้ำ

 4 อาการไม่ดีขึ้นหลัง 48 ชั่วโมง ตั้งแต่เริ่มป่วย


 ขั้นตอนการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง

 1.รับไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยข้อบ่งชี้ในการรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล เช่น

           ต้องการ intravenous fluid and electrolyte therapy,oxygen,close monitoring
           เป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรครุนแรง และไม่สามารถติดตามอาการอย่างใกล้ชิดแบบผู้ป่วยนอกได้ หรือ
           ตามดุลยพินิจของแพทย์

 2.ให้ยาโอเซลทามิเวียร์ โดยเร็วที่สุด โดยไม่ต้องรอผลตรวจทางไวรัส

 3.ส่งผลตรวจทางไวรัสเฉพาะกรณีเป็นปอดอักเสบ หรือรับไว้ในโรงพยาบาล

 4.พิจารณาให้ยาต้านแบคทีเรีย ถ้ามีปอดอักเสบ

ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แบ่งได้ 2 กลุ่มคือ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรครุนแรง และผู้ป่วยที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงต่อโรครุนแรง

 1.ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรครุนแรง คือ กลุ่มดังต่อไปนี้

          1.1 อายุไม่เกิน 2 ปี หรือมากกว่า 65 ปี

          1.2 มีภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพ เช่น หญิงตั้งครรภ์ โรคอ้วน

          1.3 มีโรคเรื้อรัง เช่น

           โรคหอบหืด หรือ โรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด
           โรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ (เอดส์ มะเร็ง เอสแอลอี ฯลฯ)
           โรคเบาหวาน โรคไต ลมชัก ธาลัสซีเมีย
           เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีที่ได้รับยาแอสไพรินเป็นเวลานาน (อาจเกิด Reye Syndrome)

 ขั้นตอนการรักษาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรครุนแรง

          1.ให้ยาโอเซลทามิเวียร์ (+/- ยาต้านแบคทีเรีย) โดยเร็วที่สุด ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น
          2.ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
          3.ถ้าอาการรุนแรงขึ้น ให้รับไว้รักษาในโรงพยาบาล
          4.ส่งตรวจทางไวรัส กรณีรับไว้ในโรงพยาบาลหรือตามความจำเป็น


 2.ผู้ป่วยที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงต่อโรครุนแรง มีขั้นตอนการรักษาดังนี้

           ไม่ต้องส่งตรวจหาไวรัสไข้หวัดใหญ่
           แนะนำวิธีการดูแลที่บ้าน
           ให้ผู้ป่วยใช้หน้ากากอนามัย
           แนะนำผู้ป่วยให้กลับมาตรวจ หากมีอาการไม่ดีขึ้น
           ไม่ต้องให้ยาต้านแบคทีเรีย ถ้าไม่มีข้อบ่งชี้
           ไม่ต้องหายาโอเซลทามิเวียร์

http://health.kapook.com/view1802.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กระทรวงสาธารณสุข