4 โรคร้าย ถอดรหัสครอบครัว


สุขภาพ

4 โรคร้าย ถอดรหัสครอบครัว
(Twenty-Four Seven)

        จุดเริ่มต้นที่ดีคือสิ่งที่สร้างความสุขให้ดำเนินยาวนาน และครอบครัวก็เช่นกัน ความพร้อมของพ่อและแม่ ย่อมนำมาซึ่งความสุขอันสมบูรณ์ของลูกๆ ความจริงนี้ไม่เพียงจำกัดอยู่ในด้านจิตใจ แต่ยังหมายถึง สุขภาพพลานามัยด้วย แน่นอนว่าเราอาจเลือกทำเลือกใช้ชีวิตได้อย่างที่ต้องการ แต่ก็มีข้อยกเว้น ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงอยู่หลายอย่าง รูปร่างหน้าตา กรุ๊ปเลือด โรคประจำตัว สิ่งเหล่านี้อาจเลือกยากในตอนที่เกิดมา แต่ทำง่ายกว่าเมื่อคุณกำลังจะให้กำเนิดใคร ด้วยการศึกษาและป้องกัน

        โดย เฉพาะโรคที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งขึ้นอยู่กับโครงสร้างของผู้ที่มีความผิดปกติว่า แต่งงานกับคนที่ปกติหรือคนที่ผิดปกติ หากคนที่ผิดปกติแต่งงานกัน ลูกก็มีสิทธิที่จะเป็นได้สูง แต่หากแต่งงานกับคนที่ปกตินั้น โอกาสจะมีมากน้อยตามความแข็งแรงและโครโมโซมของทั้งคู่ และนี่คือ 4 โรคที่คนรัก ครอบครัวควรรู้จัก

1. โรคเบาหวาน

        โรค เบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญอันดับแรกที่ทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรัง นอกจากนั้นยังเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดโรคของหลอดเลือดตีบตันได้ในทุกส่วน ของร่างกาย เช่น โรคอัมพฤกษ์อัมพาตจากเส้นโลหิตในสมองตีบ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากเส้นเลือดหัวใจตีบ, โรคเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงปลายมือ ปลายเท้าอุดตัน และยังเป็นสาเหตุของตาบอดจากเบาหวานขึ้นตาและต้อกระจกได้อีกด้วยอาการที่ สำคัญของเบาหวานคือ ปัสสาวะบ่อยขึ้น โดยเฉพาะกลางคืน, ทานน้ำบ่อยขึ้น, กินเก่งขึ้น แต่น้ำหนักลดลง แต่บางรายก็ไม่มีอาการ มักจะ ตรวจพบโดยบังเอิญ

การควบคุมรักษา

        วิธี ที่ดีที่สุดคือควบคุมระดับน้ำตาลให้มีปริมาณ น้อยกว่า 120 มก./ดล. ด้วยการควบคุมอาหารเลือกทานอาหารที่มีความหวานต่ำ รับประทานยาช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ทำให้มีการใช้กลูโคสมากขึ้น ลดการสร้างกลูโคสใหม่ในร่างกาย และยับยั้งการดูดซึมกลูโคส ทำให้ระดับน้ำตาลต่ำลงได้ ออกกำลังกายทำให้มีการใช้พลังงานในบางคนอาจมีการฉีดอินซูลินเพื่อทดแทน อินซูลินที่ขาดไป การเลือกใช้ การรักษาขึ้นอยู่กับชนิดและความ รุนแรงของเบาหวาน

2. โรคภูมิแพ้

        โรค ภูมิแพ้เกิดได้ทุกเพศทุกวัย เด็กอายุ 5 ถึง 15 ปี มักพบว่าเป็นบ่อยกว่าช่วงอายุอื่นๆ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่โรคแสดงออกหลังจากได้รับ ‘สิ่งกระตุ้น’ มานาน บางคนอาจเริ่มเป็นโรค ภูมิแพ้ตอนเป็นผู้ใหญ่ ตัวการที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ (Allergens) หรือสิ่งกระตุ้น ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจ, การรับประทาน อาหาร, การสัมผัสทางผิวหนัง, ทางตา, ทางหู, ทางจมูก, หรือโดยการฉีดหรือถูกกัดต่อยผ่านผิวหนัง

การควบคุมรักษา

        การ หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้นั้นทำได้ยาก เพราะชีวิตประจำวันนั้นต้องเผชิญกับสารก่อภูมิแพ้กระจายอยู่รอบๆ ตัว เช่น ฝุ่นบ้าน, ไรฝุ่น, เชื้อรา และอื่นๆ  เมื่อเป็นเช่นนี้การรักษาอาการของโรคอันเป็นปัญหาเฉพาะหน้าจึงเป็นสิ่งจำ เป็น และมักจะได้ผลดี แพทย์อาจให้รับประทานยาแก้แพ้ แก้หอบ แก้ไอร่วมด้วย เป็นต้น ปัจจุบันมียารักษาโรคภูมิแพ้ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยหลายประเภท ทั้งยารับประทานและยาภายนอก

3. โรคธาลัสซีเมีย

        ผล ของโรคทำให้การควบคุม การสร้างฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดงมีลักษณะผิดปกติ โลหิตจางเรื้อรัง  และเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ทำให้ต้องรับการเติมเลือดเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งอาจมีปัญหาแทรกซ้อนจากการให้เลือดร่วมด้วย ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียมักมีการติดเชื้อง่าย มีกระดูกบางเปราะ หักง่าย บางรายมีปัญหาทางด้านจิตใจ หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย

การควบคุมรักษา

        การ ควบคุมรักษา ก่อนหน้านี้การรักษาต้องทำกันตลอดชีวิต ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านพันธุวิศวกรรมเจริญก้าวหน้าอย่างมากทำให้เทคนิคการ รักษาโรคธาลัสซีเมียมีความหลากหลายยิ่งขึ้น ได้แก่ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด, การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก การใช้เลือดจากสายสะดือและการเปลี่ยนยีน วิธีดีที่สุดคือการป้องกัน คู่สมรสควรตรวจหาเชื้อแฝงของธาลัสซีเมีย เพื่อลดความเสี่ยง ที่จะมีบุตร

4. โรคลูคีเมีย

        มะเร็ง เม็ดเลือดขาว หรือที่มักเรียกกันว่า ลูคีเมีย แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ชนิดเรื้อรัง และชนิดเฉียบพลัน ชนิดเฉียบพลันพบมากที่สุด เกิดจากความผิดปกติ ของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูกแบ่งตัว เพิ่มจำนวนเซลล์ตัวอ่อนของเม็ดโลหิตขาวมาก แต่เซลล์เหล่านั้นไม่สามารถเจริญเป็นตัวแก่ได้ตามปกติ จึงเข้าแทนที่และยับยั้งการเจริญเติบโต ของเซลล์สร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด จนเกิดอาการตัวซีด อ่อนเพลีย มีเลือด ออกผิดปกติ หรือจุดเลือดออก เนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย มีไข้สูง และยังทำให้เกิดเซลล์ มะเร็งแทรกตัวในเนื้อเยื่ออื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้าม ผิวหนัง หรือเยื่อหุ้มสมอง ใครสงสัยว่า เป็นมะเร็งเม็ดโลหิตขาวชนิดเฉียบพลัน ควรตรวจ สภาพร่างกายอย่างละเอียด ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจไขกระดูก ตรวจระดับยีน ตรวจความสมบูรณ์ของระบบต่างๆ

การควบคุมรักษา

        รักษา แบบประคับประคอง ด้วยการให้ส่วน-ประกอบของเลือดชนิดต่างๆ ที่เหมาะ กับภาวะโรค เช่น ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วย ที่มีไข้ เพื่อลดจำนวนเม็ดเลือดขาว

        รักษา จำเพาะ ใช้เคมีบำบัดเป็นหลัก โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้ไขกระดูกกลับมาทำหน้าที่ตามปกติให้ได้เร็วที่สุด สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งให้ได้ มากที่สุด ป้องกันการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ดื้อต่อยาเคมีบำบัด ชุดยาเคมีบำบัดประกอบด้วยยาหลายชนิดให้ในขนาดและเวลาต่างๆ กัน

        โชคดี และโชคร้ายเหมือนกันที่มันถูกสร้างและกำจัดได้ โรคร้ายและสุขภาพก็เช่นกัน ก่อนที่จะส่งสมบัติของครอบครัวไปสู่สมาชิกใหม่ที่คุณรัก ลองถามตัวเองหรือยังว่า คุณมั่นใจในรหัสพันธุกรรมของตัวเอง


http://health.kapook.com/view1327.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก