เคล็ด(ไม่)ลับ...โรคนอนไม่หลับ

โรคหัวบาตร HYDROCEPHALUS หรือเด็กหัวแตงโม

โรคหัวบาตร เด็กหัวแตงโม
โรคหัวบาตร


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก   twenty-four seven

          หลัง จากมีข่าวว่า แม่ของน้องฟ้า เด็กหญิงวัย 1 ขวบ 9 เดือน เข้าร้องเรียนมูลนิธิปวีณาให้ช่วยเหลือ หลังลูกสาวฉีดวัคซีนแล้วมีอาการเดินไม่ได้ จนแพทย์ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง จึงพบว่า สาเหตุที่น้องฟ้าเดินไม่ได้ ไม่ได้เกิดจากการฉีดวัคซีน แต่เพราะน้องฟ้าป่วยเป็น โรคหัวบาตร จึงไม่สามารถเดิน หรือยืนได้ ทั้งนี้ โรคหัวบาตร เป็นโรคที่เคยได้ยินชื่ออยู่บ่อยครั้ง แต่หลายคนยังไม่ทราบว่า โรคหัวบาตร คือโรคอะไร  วันนี้เราไปรู้จัก โรคหัวบาตร กันค่ะ

          โรคหัวบาตร หรือ โรคโพรงน้ำในสมองขนาดใหญ่ (ไฮโดรเซฟฟาลัส -HYDROCEPHALUS) เป็นความผิดปกติที่มีน้ำในโพรงสมองมากเกินปกติ เนื่องจากท่อทางเดินน้ำหล่อสมองและไขสันหลังอุดตัน ทำให้น้ำที่อยู่ในสมองและไขสันหลัง ซึ่งปกติเป็นตัวคอยป้องกัน และหล่อเลี้ยงสมองไม่ให้กดทับกับส่วนกะโหลก เกิดคั่งจนท่วมอยู่ในสมอง จนความดันในช่องสมองมีสูง ดันได้ช่องสมองโตออกจนไปเบียดเนื้อสมอง และดันกะโหลกศีรษะให้โตออก จนมีขนาดใหญ่ผิดปกติ

          ทั้งนี้ โรคหัวบาตร หรือ ไฮโดรเซฟฟาลัส มักเกิดในเด็กเล็ก พบได้ทั้งเพศชาย และเพศหญิง โดยในภาษาไทยจะเรียกเด็กที่เป็น โรคหัวบาตร ว่า เด็กหัวแตงโม ซึ่ง แพทย์ระบุว่า จากสถิติจะพบเด็กที่เป็น โรคหัวบาตร ได้ในอัตรา 1 ใน 1,000 คนต่อปี ขณะที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ในแต่ละปีจะมีเด็กเข้ารับการรักษา โรคหัวบาตร นี้ไม่ต่ำกว่า 10 ราย

สาเหตุของ โรคหัวบาตร

          โรคหัวบาตร เกิดจากได้จากหลายๆ สาเหตุ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อวัณโรค ทางพันธุกรรม เกิดภาวะเลือดออกในสมอง ได้รับอุบัติเหตุ ฯลฯ แต่หากพบเด็กที่เป็น โรคหัวบาตร ตั้งแต่กำเนิด สาเหตุมักเกิดจากการอุดกั้นของทางผ่านของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของท่อที่จะทำให้น้ำไขสันหลัง ที่จะผ่านออกมาจากสมองมีการตีบหรือไม่มีช่องว่าง หรือมีการอักเสบบริเวณท่อน้ำในสันหลัง จนกระทั่งเกิดการตีบขึ้นมา หรือมีความผิดปกติของระบบหลอดเลือด ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตัน ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการดูดซึมน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังเสียไป

 อาการของ โรคหัวบาตร

          เด็กที่เป็น โรคหัวบาตร จะมีอาการเกร็งที่แขนและขา เดินหรือยืนไม่ได้ จากนั้นศีรษะจะบวมและโตขึ้นเรื่อยๆ จนเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว มีหน้าผากที่โปนเด่นกว่าปกติ หนังศีรษะบางเป็นมัน หลอดเลือดดำบริเวณศีรษะมีขนาดใหญ่ผิดปกติชัดเจน กระหม่อมจะใหญ่มากกว่าปกติ และมักจะตึงมาก 
          ถ้าจับเด็กนั่ง จะพบว่ากระหม่อมไม่ยุบลง รอยประสานของกระดูกศีรษะจะแยกออกกว้าง ผู้ป่วย โรคหัวบาตร จะร้องครวญครางตลอด เพราะรู้สึกเจ็บและปวดหัวมาก ถ้า อาการ โรคหัวบาตร เป็นรุนแรงมาก จะทำให้ลูกตาทั้งสองข้างมองลงล่าง ทำให้เห็นตาขาวส่วนบนได้ ในรายที่เป็น โรคหัวบาตร มาเป็นเวลนานโดยไม่ได้รับการรักษา จะเกิดความบกพร่องทางประสาท


โรคหัวบาตร ไฮโดรเซฟฟาลัส HYDROCEPHALUS
โรคหัวบาตร


 การรักษา โรคหัวบาตร

          โรคหัวบาตร นั้นสามารถรักษาได้โดยการเจาะไขสันหลัง ใส่สายยางเล็กๆ เพื่อดูดน้ำที่อยู่ในสมองออกมา และต่อท่อจากสมองลงมาที่อวัยวะอื่นๆ เช่น หัวใจ ช่องท้อง หรือผนังเยื่อหุ้มปอด เพื่อระบายน้ำออกแทนจากนั้นต้องให้ยา เพื่อให้ร่างกายหยุดการผลิตน้ำในสมอง ทั้งนี้ หากตรวจพบว่าเป็น โรคหัวบาตร ได้เร็ว ก็จะสามารถรักษาให้หายได้ แต่หากรับการรักษา โรคหัวบาตร ล่าช้า ผู้ป่วยจะมีอาการหัวโต เนื่องจากน้ำในโพรงสมองจะเพิ่มขึ้น จนทำให้เนื้อสมองบางลง และส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองและร่างกายในที่สุด
          และในปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าไปอย่างมาก ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัย โรคหัวบาตร หรือไฮโดรเซฟฟาลัสได้ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดา ด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์ ซึ่งจะสามารถตรวจพบขนาดของศีรษะเด็กที่โตผิดปกติได้ ตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 12 สัปดาห์ขึ้นไป

การป้องกัน โรคหัวบาตร ของทารกในครรภ์

          สำหรับการป้องกัน โรคหัวบาตร ของทารกในครรภ์นั้น อาจารย์จาลีล มิลาน และคณะ จากมหาวิทยาลัยแมนเชนเทอร์ และแลนคาสเทอร์ ประเทศอังกฤษ ได้ทำการศึกษาในหนูทดลองพบว่า การให้โฟเลต (folates) ซึ่งเป็นวิตามิน B ชนิดหนึ่ง มีส่วนช่วยลด โรคหัวบาตร หรือภาวะโพรงน้ำในสมองโต (hydrocephalus) ได้ ดังนั้นจึงได้แนะนำให้หญิงที่จะเตรียมตั้งครรภ์ให้กินกรดโฟลิค ซึ่งเป็นวิตามินสังเคราะห์ เพื่อป้องกันความผิดปกติของกระดูกสันหลัง (spina bifida) และสมอง

          ทั้ง นี้สารโฟเลต เป็นวิตามิน B ชนิดหนึ่ง ที่พบมากใน ตับ ถั่ว หน่อไม้ฝรั่ง ผักปวยเล้ง ไข่ เมล็ดทานตะวัน มะเขือเทศ ส้ม และผักผลไม้สดๆ ฯลฯ อย่างไรก็ตามการศึกษานี้เป็นการศึกษาขั้นเริ่มต้น จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านต่อไป



credit  http://health.kapook.com/view3091.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
        
- elib-online.com