โรคกระเพาะ อาการโรคกระเพาะอาหาร


โรคกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะ หรือ โรคกระเพาะอาหาร


แผลในกระเพาะอาหาร…เรื้อรังหรือรักษาหายได้? (ไทยรัฐ)

          โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือคนทั่วไปเรียกกันติดปากว่า โรคกระเพาะ หรือ โรคกระเพาะอาหาร เกิดจากสาเหตุหลายประการ และมีกลไกการเกิดโรคที่ซับซ้อนมาก สาเหตุมาจากกรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมาในกระเพาะอาหาร ไม่ว่ากรดนั้นจะมีปริมาณมากหรือน้อยจะเป็นตัวทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ร่วมกับมีความบกพร่องของเยื่อบุกระเพาะอาหารที่สร้างแนวต้านทานกรดไม่ดี นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร จนเป็น โรคกระเพาะ ได้แก่ ยาแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ การสูบบุหรี่ ความเครียด อาหารเผ็ด สุรา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดการอักเสบเรื้อรัง แล้วนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือ โรคกระเพาะ และลำไส้เล็กส่วนต้นได้
          "เฮ ลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร" อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของ โรคกระเพาะ ปัจจุบันพบว่าเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร มีรูปร่างเป็นเกลียวและมีหาง มีความทนกรดสูงเนื่องจากสามารถสร้างสารที่เป็นด่างออกมาเจือจางกรดที่อยู่ รอบๆ ตัวมัน ทำให้สามารถอาศัยอยู่ในชั้นผิวเคลือบภายในกระเพาะอาหารได้ และยังสร้างสารพิษทำลายเซลล์เยื่อบุผิวของกระเพาะอาหาร ส่งผลให้เกิดการอักเสบและเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร จึงนับเป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร

          นอกจากนี้ขณะที่ทำการรักษาแผลในกระเพาะอาหารอยู่ เชื้อนี้จะเป็นต้นเหตุทำให้แผลหายช้า และทำให้แผลที่หายแล้วกลับเป็นซ้ำได้อีก รวมถึงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอีกด้วย

เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร
เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร สาเหตุให้เกิด โรคกระเพาะ



อาการสำคัญของ โรคแผลในกระเพาะอาหาร ( โรคกระเพาะ )

           ปวดหรือจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่หรือช่องท้องช่วงบน ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วย โรคกระเพาะ มักเป็นในช่วงท้องว่างหรือหิว โดยอาการดังกล่าวมักไม่เป็นตลอดทั้งวัน

           อาการปวดแน่นท้องที่บรรเทาลงได้ด้วยอาหารหรือยาลดกรด ในผู้ป่วย โรคกระเพาะ บางรายอาจมีอาการปวดมากขึ้นหลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารรสเผ็ดหรือเปรี้ยวจัด เป็นต้น

           อาการ ปวดมักเป็นๆ หายๆ นานเป็นปี โดยมีช่วงเว้นที่ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์และหายไป หลายๆ เดือนจึงกลับมาปวดอีกครั้ง

           ปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากหลับไปแล้ว ทำให้คนเป็น โรคกระเพาะ จนต้องตื่นขึ้นมา

          ในผู้ป่วย โรคกระเพาะ บางรายอาจไม่มีอาการปวดท้องแต่จะมีอาการแน่นท้อง หรือรู้สึกไม่สบายในท้อง มักจะเป็นบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือกลางท้อง รอบสะดือ ในผู้ป่วย โรคกระเพาะ กลุ่มนี้มักมีท้องอืดร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังกินอาหารจะมีท้องอืดขึ้นชัดเจน มีลมมากในท้อง ท้องร้องโกรกกราก ต้องเรอหรือผายลมจะดีขึ้น อาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังอาหารแต่ละมื้อหรือช่วงเช้ามืด ผู้ป่วย โรคกระเพาะ อาจมีอาการอิ่มง่ายกว่าปกติ ทำให้กินได้น้อย และน้ำหนักลดลงได้บ้าง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีอาการเรื้อรังเป็นปี แต่สุขภาพของผู้เป็น โรคกระเพาะ ทั่วไปมักไม่ทรุดโทรม น้ำหนักไม่ลด รวมถึงไม่มีภาวะซีดร่วมด้วย

          ภาวะแทรกซ้อนของ โรคกระเพาะ พบได้ประมาณร้อยละ 25-30 อาทิ ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วย โรคกระเพาะ จะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเหลวสีดำ เหนียว คล้ายน้ำมันดิน หรือมีหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ เป็นลม
          กระเพาะอาหารทะลุ ผู้ป่วย โรคกระเพาะ มี อาการปวดท้องช่วงบนเฉียบพลัน รุนแรง หน้าท้องแข็ง ตึง กดเจ็บมาก กระเพาะอาหารอุดตัน ผู้ป่วยจะรับประทานได้น้อย อิ่มเร็ว อาเจียนหลังอาหารเกือบทุกมื้อ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง

การวินิจฉัย โรคแผลในกระเพาะอาหาร ( โรคกระเพาะ )

          ในปัจจุบันถือว่าการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน เป็นวิธีที่เป็นมาตรฐานและดีที่สุด ในทางการแพทย์ผู้ป่วยที่มีอาการของ โรคกระเพาะอาหาร และได้รับการรักษาด้วยยาลดกรดแล้วอย่างน้อย 1 เดือนแล้วอาการไม่ทุเลาควรได้รับการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน เนื่องจากแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยได้ทันที

การรักษา โรคกระเพาะ ในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
 1.การรักษาสาเหตุ
          ในกรณีตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะให้การรักษาโดยมีสูตรยา 3-4 ชนิดร่วมกัน รับประทานนาน 1-2 สัปดาห์ สูตรยาส่วนใหญ่เป็นยาปฏิชีวนะร่วมกับยาลดกรด เพื่อรักษาแผลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วย โรคกระเพาะ ควรได้รับการตรวจหาเชื้อซ้ำภายหลังจากได้รับประทานยาปฏิชีวนะครบแล้ว โดยอาจเป็นการตรวจโดยการส่องกล้องกระเพาะอาหารอีกครั้ง เพื่อทำการพิสูจน์ชิ้นเนื้อซ้ำ หรือทดสอบโดยการรับประทานยาสำหรับทดสอบเชื้อแบคทีเรียโดยตรง และตรวจวัดสารที่ถูกปล่อยออกมาทางลมหายใจ

          ทั้ง 2 วิธีถือเป็นวิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน หลังตรวจพิสูจน์แล้วว่าไม่พบเชื้อแบคทีเรีย โอกาสการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กซ้ำจะมีน้อยกว่า 10% ภายใน 1 ปีหลังได้รับการรักษา  ส่วนการรักษาโดยยาลดกรด PPI เพียงอย่างเดียวอาจทำให้แผลของผู้ป่วย โรคกระเพาะ หาย ได้เช่นกัน แต่มีผลเสียคือ มีโอกาสเกิดแผลซ้ำได้สูง และทำให้มีโอกาสที่เชื้อแบคทีเรียจะทำลายเยื่อบุผิวกระเพาะอาหารลุกลามมาก ขึ้นได้ จึงน่าเป็นห่วงสำหรับผู้ป่วย โรคกระเพาะ ที่ มักจะรับประทานยาลดกรดเอง แล้วมีอาการเป็นๆ หายๆ โดยไม่เคยได้รับการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคที่ไม่หาย ขาดและส่งผลเสียต่อไปในอนาคตได้

          ในกลุ่มผู้ป่วย โรคกระเพาะ ที่ รับประทานยาที่มีผลทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ควรจะหยุดยาและหลีกเลี่ยงการรับยาในกลุ่มนี้ซ้ำอีก ยกเว้นในกรณีที่ยานั้นจำเป็นต่อการรักษาโรค ผู้ป่วย โรคกระเพาะ ควร ได้รับยาลดกรดควบคู่ไปกับยาที่รับประทานอยู่เพื่อรักษาแผล ลดโอกาสการเกิดแผลขึ้นใหม่ และลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากแผล ส่วนในกรณีผู้ป่วย โรคกระเพาะ ที่ตรวจพบภาวะกรดเกินจากเนื้องอกควรได้รับการผ่าตัด

 2.การรักษาแผล

          ผู้ป่วย โรคกระเพาะ จะได้รับยาลดกรดเพื่อยับยั้งการหลั่งกรดและส่งเสริมการสมานแผล โดยเฉลี่ยเป็นเวลานาน 6-8 สัปดาห์ รวมทั้งผู้ป่วย โรคกระเพาะ ควร จะงดการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ควบคุมอาหารที่เพิ่มการหลั่งกรดดังกล่าว รวมทั้งลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งการดูแลตัวเองดังนี้จะทำให้ผู้ป่วย โรคกระเพาะ มีอาการที่ดีขึ้นได้โดยเร็ว

ผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร ( โรคกระเพาะ ) ควรปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างไรบ้าง?
          อาหารที่ผู้ป่วย โรคกระเพาะ ควร หลีกเลี่ยงคือ ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดอง อาหารแข็งย่อยยาก อาหารประเภททอด หรือมีไขมันมาก เพราะไขมันเป็นสารที่ย่อยยากกว่าสารอาหารชนิดอื่น รวมถึงสังเกตอาหารหรือผลไม้ที่รับประทานแล้วทำให้มีอาการมากขึ้น เช่น บางคนรับประทานฝรั่งหรือสับปะรดจะปวดท้องมากขึ้น เป็นต้น ผู้ป่วย โรคกระเพาะ ควรรับประทานอาหารอ่อน อาหารที่ย่อยง่าย เมื่อผู้ป่วย โรคกระเพาะ มีอาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยกลับมารับประทานอาหารที่ใกล้เคียงปกติได้

          การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง มีผลต่อการเพิ่มความรุนแรงของ โรคกระเพาะอาหาร กล่าวคือ ถ้ารับประทานอาหารรสจัดจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อแผลมากขึ้น มีอาการปวดมากขึ้น นอกจากนี้ ถ้ารับประทานอาหารที่ย่อยยากหรือรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป จะยิ่งกระตุ้นให้กระเพาะอาหารขยายตัวมากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีการปวดมากขึ้นเช่นกัน

โรคแผลในกระเพาะอาหาร ( โรคกระเพาะ ) จะหายขาดได้หรือไม่?
          โรคแผลในกระเพาะอาหาร ( โรคกระเพาะ ) หายได้ แต่มีโอกาสกลับเป็นใหม่ได้อีกร้อยละ 70-80 ในระยะเวลา 1 ปีหลังให้การรักษา ซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นธรรมชาติของ โรคกระเพาะ คือจะมีลักษณะเรื้อรังและกลับเป็นซ้ำได้ หลังได้รับยาอาการปวดมักจะทุเลาลงในระยะ 7 วันแต่แผลจะยังไม่หาย ส่วนใหญ่ผู้ป่วย โรคกระเพาะ จำ เป็นต้องได้รับยารักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน 8-12 สัปดาห์ แผลจึงจะหาย เมื่อหายแล้วก็มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้อีก ถ้าไม่ระวังเรื่องการปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง หรือถ้ายังไม่สามารถกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรให้หมดไปได้





http://health.kapook.com/view435.html
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

ข้อมูลโดย ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเวชธานี http://www.vejthani.com/