ผลวิจัยชี้ทานยาพาราเซตามอล เสี่ยงเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือด





พาราเซตามอล


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          ผลการวิจัยพบพาราเซตามอล มีสารอะเซตามิโนเฟน ที่ทำให้เป็นมะเร็งในเม็ดเลือด

          ยาพาราเซตามอล เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ทุกครอบครัวจะต้องมีติดบ้านไว้อยู่เสมอ แต่รู้หรือไม่ว่ายาที่เราบริโภคเป็นประจำเวลามีอาการปวดต่าง ๆ หรือต้องการลดไข้ อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในเม็ดเลือดได้

          โดย เอมิลี่ ไวท์ นักวิจัยจากศูนย์วิจัยโรคมะเร็งแห่งฮัทชินสัน เมืองซีแอตเทิล ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ใน ยาพาราเซตามอลประกอบไปด้วยสารเคมีที่เรียกว่า อะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) ซึ่งสารนี้มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือด หลังมีการทดสอบกลุ่มตัวอย่างที่เป็นชายและหญิงชรา จำนวน 65,000 คน ที่บริโภคยาตัวนี้ โดยได้สอบถามว่า ในระยะเวลา 10 ปี พวกเขาบริโภคยาแก้ปวดไปเท่าไร และให้แน่ใจด้วยว่าไม่มีใครเคยเป็นโรคมะเร็งมาก่อน

          ทั้งนี้ หลังจากมีการทดลองดังกล่าวแล้วพบว่า ผู้ที่ใช้สารอะเซตามิโนเฟนเป็นประจำมีความเสี่ยงเกือบจะเป็น 2 เท่าต่อการเป็นมะเร็งเม็ดเลือด อีกทั้งผลการวิจัยยังกล่าวอีกด้วยว่า ถ้าใช้สารอะเซตามิโนเฟนอย่างน้อย 4 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลาอย่างน้อย 4 ปี จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากขึ้นอีก 2 % แต่ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จะทำการวิจัยและศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพิ่มเติมอีกต่อไป

          อย่างไรก็ตาม เอมิลี่ ไวท์ กล่าวว่า  ยังไม่มีข้อพิสูจน์ว่า สารอะเซตามิโนเฟนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งอย่างชัดเจน  อีกทั้งผลการวิจัยใหม่ล่าสุดนี้จำเป็นต้องได้รับการยืนยันก่อนที่จะถูกนำมา ใช้ในการหาวิธีรักษาและป้องกันโรคมะเร็ง

          ทางด้าน ดร.เรย์มอนด์ ดูบัวส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันมะเร็งจากฮูสตัน มลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า สาร อะเซตามิโนเฟนมีกระบวนการทำงานแตกต่างจากยาแก้ปวดอื่น ๆ ดังนั้นจึงผลข้างเคียงก็น่าจะแตกต่างด้วยเช่นกัน สำหรับยาแก้ปวดอื่น ๆ อย่างแอสไพริน และไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) ก็มีความเกี่ยวข้องต่อการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดเช่นเดียวกัน แต่ทั้งนี้สารอะเซตามิโนเฟนที่อยู่ในยาพาราเซตามอนมีความเสี่ยงมากกว่า


          อย่างไรก็ตาม ดร.เรย์มอนด์ ดูบัวส์ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ไม่มียาแก้ปวดชนิดใดที่สามารถใช้ได้โดยปราศจากผลข้างเคียงโดยสิ้นเชิง ดังนั้นก่อนการบริโภคยา ผู้บริโภคควรชั่งใจก่อนว่าประโยชน์และโทษต่อร่างกาย อย่างไหนคุ้มค่ากว่ากัน

http://health.kapook.com/view26062.html