โรคหัวใจ ภัยแฝงที่แถมมากับ เบาหวาน

 โรคหัวใจ ภัยแฝงที่แถมมากับ เบาหวาน

โรคหัวใจ ภัยแฝงที่แถมมากับ เบาหวาน
(ไทยรัฐ)

          สถานการณ์โรคหัวใจในประเทศไทยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน ซึ่ง 50% ของคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมีอาการป่วยเป็นเบาหวานร่วมด้วย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในอดีตพบเพียงหลอดเลือดผิดปกติเท่านั้น
          ศ.นพ.เกียรติชัย ภูริปัญโญ ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี เผยถึงความสัมพันธ์ระหว่างโรคหัวใจกับโรคเบาหวานว่า สำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือดมีผลต่อประชาชนชาวไทยในช่วงครึ่งหลังของชีวิต เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่กำลังสร้างสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ในประเทศกำลังพัฒนาจะมีความชุกของปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง

โรคหัวใจส่วนใหญ่เกิดจากอะไร

         ก่อนอื่นต้องดูว่าเป็นโรคหัวใจชนิดไหน แต่ที่ถูกกล่าวถึงอยู่บ่อยๆ คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากความดันโลหิตสูง พบว่ากลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุ 40 ปีขึ้นไป และในเพศหญิงคือหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว คนที่เป็นโรคอ้วนหรือโรคอ้วนลงพุง คือมีรอบเอวใหญ่กว่ารอบสะโพก ตลอดจนการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย แต่สำหรับในโรคเบาหวานถือว่าเป็นสาเหตุสำคัญในประเทศไทย

          ส่วน วิธีป้องกันนั้นต้องแยกสาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เพราะบางปัจจัยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ส่วนใหญ่ คือ การปรับพฤติกรรมตัวเอง โดยเริ่มปรับเปลี่ยนตั้งแต่เด็ก คือไม่ให้อ้วนมาก รับประทานขนมหวานให้น้อยลง เปลี่ยนมารับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญคือควรได้รับการตรวจเลือดและตรวจร่างกายตามระยะเวลาที่กำหนด

          คนที่เป็นเบาหวาน มักจะเป็นโรคหัวใจด้วยในภายหลัง และสามารถเป็นโรคหัวใจได้เร็วกว่าคนทั่วไปที่ไม่เป็นเบาหวาน เนื่อง จากโรคเบาหวานจะทำให้หลอดเลือดเสื่อมลง แต่ก็ต้องดูว่ามีปัจจัยอื่นที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น ภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูง (คนที่เป็นโรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะมีระดับ LDL Cholesterol สูงกว่าคนปกติ) ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ ความเครียด อ้วน คนที่มีบุคลิกย้ำคิดย้ำทำ เป็นต้น แต่ปัจจุบันนี้ยังพบสาเหตุใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก เช่น การติดเชื้อบางชนิดจากการที่มีฟันผุ เหงือกอักเสบ และพบว่าสาเหตุนี้นำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจเสื่อมมากขึ้น

คนที่เป็นเบาหวานมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจมากน้อยแค่ไหน

เพียง แค่ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติคนทั่วไปก็มีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้ ดังนั้นคนที่ป่วยเป็นเบาหวานยิ่งมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูงมาก ในกรณีของคนที่เป็นเบาหวานเป็นที่ทราบกันดีว่าจะมีอาการทางด้านปลายประสาท อักเสบ ทำให้ความรู้สึกเจ็บปวดลดลงเมื่อโรคหัวใจกำเริบ คืออาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก สาเหตุนี้ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีโรคหัวใจแทรกซ้อนอยู่

ผู้ป่วยเบาหวานจะมีโอกาสเป็นโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจมากน้อยแค่ไหน

          สำหรับ คนที่ป่วยเป็นเบาหวานแล้วเกิดโรคแทรกซ้อน คือโรคหัวใจนั้นอยู่ที่ 50% โดยเฉพาะคนป่วยเป็นเบาหวานมาระยะเวลานาน ยิ่งต้องระวังเพราะมีโอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจมาก แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการควบคุมปัจจัยหลายๆ อย่างด้วย

ผู้ที่เป็นเบาหวานหากสงสัยว่าตนจะเป็นโรคหัวใจแฝงอยู่หรือไม่ควรทำอย่างไร

          สิ่ง แรกควรมาพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจร่างกายในขั้นต้นแล้วจึงทำการตรวจกราฟหัวใจ จากนั้นจะทำการประเมินว่ามีอาการอย่างไรบ้าง เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้ป่วยเบาหวานมักจะไม่แสดงอาการของโรคหัวใจ ดังนั้นจึงแนะนำว่าคนที่มีปัจจัยเสี่ยงคือทราบว่าตัวเองป่วยเป็นเบาหวาน หรือคนที่มีช่วงอายุเกิน 40 ปีในผู้ชาย และหลังหมดประจำเดือนในผู้หญิงก็ควรได้รับการตรวจเช่นกัน โดยตรวจด้วยวิธีเดินสายพานเพื่อให้ทราบถึงมูลเหตุของโรคหัวใจอย่างชัดเจน

           และขั้นตอนต่อไปคือการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูว่าหลอดเลือดหัวใจตีบหรือ ไม่ แต่หากผลการตรวจเดินสายพานบ่งบอกชัดเจนว่ามีเส้นเลือดหัวใจตีบ ก็สามารถข้ามขั้นตอนการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ไปสู่การฉีดสีดูเส้นเลือดหัวใจ โดยตรง โดยการเจาะเข้าเส้นเลือดแดงที่ข้อมือหรือขา เพื่อสอดสายสวนขึ้นไปสู่เส้นเลือดหัวใจแล้วจึงฉีดสี วิธีนี้จะทำให้ทราบผลอย่างแน่นอน

การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่เป็นโรคเบาหวานกับไม่เป็น แตกต่างกันอย่างไร

          การ รักษาแตกต่างกันอย่างแน่นอน โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานเพียงแค่มีอาการแน่นหน้าอกและเหนื่อยง่ายให้ วิเคราะห์ได้เลยว่ามีโอกาสเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบสูง ต่างจากคนทั่วไป ไม่ว่าจะในวัย 40 ปีขึ้นไปสำหรับผู้ชาย หรือวัยหมดประจำเดือนในผู้หญิง ซึ่งบางทีอาจจะไม่มีอาการของเบาหวานเพียงเข้ารับการตรวจเล็กน้อย

          สำหรับ การรักษานั้นผู้ป่วยเป็นเบาหวานจะรักษายากกว่า เนื่องจากการรักษาโรคหัวใจนั้นต้องควบคุมเบาหวาน ควบคุมไขมัน และควบคุมความดัน โดยในการควบคุมไขมันและความดันนั้นทำได้ไม่ยาก เพราะตัวยาที่ใช้ให้ผลดีกับการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทั้งสองอย่าง ตรงกันข้ามกับเบาหวานที่ควบคุมยาก เพราะนอกจากจะรักษาด้วยยาแล้วต้องได้รับความร่วมมือกับผู้ป่วยที่เป็นเบา หวานด้วยจึงจะได้ผล และกรณีที่คนป่วยเป็นเบาหวานเกิดหลอดเลือดตีบรักษาด้วยการทำบอลลูน โดยการใส่ขดลวดเข้าไปแล้ว พบว่าโอกาสที่หลอดเลือดจะกลับมาตีบซ้ำ มีความเป็นไปได้สูงกว่าคนปกติทั่วไปถึง 10%

          ถ้า ผู้ป่วยเป็นเบาหวานคุมเบาหวานไม่ดี เห็นชัดเจนเลยว่าการรักษาค่อนข้างจะยากกว่า และอีกหนึ่งกรณีคือลักษณะเส้นเลือดของคนที่เป็นโรคหัวใจที่ป่วยเป็นเบาหวาน จะมีลักษณะขรุขระมากกว่าคนปกติทั่วไป ทำให้การรักษาด้วยการทำบอลลูนต้องใช้ขดลวดหลายอันและในบางจุดก็ไม่สามารถใส่ ได้ จึงถือว่าเป็นการยากมากสำหรับการรักษาโรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานจะสามารถป้องกันตนเองจากโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจได้หรือไม่

          ป้องกัน ได้โดยการควบคุมเบาหวานให้ดีที่สุด ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เช่น ควรวางแผนเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การับประทานยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล การตรวจระดับน้ำตาลเพื่อติดตามและควบคุมระดับน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทราบถึงปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันรวมทั้งอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ ตีบ

          โอกาส เสี่ยงของผู้ป่วยเบาหวานที่จะเป็นโรคหัวใจถือว่ามีความเสี่ยงสูงมาก ดังนั้นควรควบคุมเบาหวานให้ดีที่สุด รวมถึงต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงปรับปรุงเรื่องพฤติกรรมเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนมีการพักผ่อนที่เพียงพอ ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากจนเกินไปและที่สำคัญต้องเชื่อฟังคำแนะนำ รวมถึงปฏิบัติตามแพทย์สั่งการรักษาจึงจะได้ผลดี


http://health.kapook.com/view2140.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก