ดื่มนมแล้วเป็นมะเร็งเต้านมจริงหรือ?



ดื่มนม

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          หลาย ปีที่ผ่านมา มีอีเมล์ข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพมากมายถูกส่งต่อกันแบบจดหมายลูกโซ่ในโลกอิน เทอร์เน็ต ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นความเข้าใจแบบผิด ๆ เสียมากกว่า ดังเช่นอีเมล์ที่มีเนื้อหาเตือนภัยคุณสาว ๆ ว่า "การดื่มนมสามารถทำให้เกิดมะเร็งเต้านมได้" เรื่องนี้เป็นความจริงหรือไม่ มาไขข้อข้องใจกันดีกว่าค่ะ

          โดยทางเว็บไซต์ "AsiaOne Health" ได้สอบถามประเด็นนี้ไปยัง ดร. หว่อง เส็ง เว็ง นักวิทยาเนื้องอก และผู้อำนวยการของศูนย์มะเร็งประเทศสิงคโปร์ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการดื่มนมกับมะเร็งเต้านมว่าสอดคล้องกันหรือไม่ ซึ่งก็ได้คำตอบว่า มีส่วนสอดคล้องกันใน เรื่องของมะเร็งเต้านมกับปริมาณการดื่มนม แต่เป็นแนวโน้มของผลกระทบทางอ้อมที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับไขมันในน้ำ นมและโรคอ้วน

          ทั้งนี้ มีงานศึกษาอยู่หลายชิ้นที่แนะนำว่า การดื่มนมไขมันต่ำอาจมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยก่อนหมดประจำเดือน ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อปี ค.ศ.2002 ซึ่งต้องการศึกษาหาคำตอบว่า ปริมาณการดื่มนมไขมันต่ำ แคลเซียม และวิตามินดี มีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมของผู้หญิงที่อยู่ใน ช่วงวัยก่อนหมดประจำเดือนหรือไม่ โดยได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงมากกว่า 80,000 คนมาทำการศึกษา

          ผล ของการศึกษาพบว่า การบริโภคไขมัน ทั้งการดื่มนมไขมันสูงในช่วงวัยก่อนเจริญพันธุ์ และเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก รวมทั้งการรับประทานไขมันสะสมในร่างกาย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมสูงที่ขึ้นตามที่ มีการตั้งสมมติฐานเอาไว้ โดยพบว่า ผู้หญิง ที่มีน้ำหนักและดัชนีมวลกายที่สูงขึ้นในช่วงวัยหลังการหมดประจำเดือน และผู้หญิงที่มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลังช่วงวัยหมดประจำเดือนจะมีความเสี่ยง ในการเกิดมะเร็งเต้านมที่สูงกว่า

          สอด คล้องกับการศึกษาจากประเทศเนเธอร์แลนด์เมื่อปี ค.ศ. 2000 ที่ระบุถึงค่าดัชนีมวลกายของผู้หญิงเอาไว้ว่า ผู้หญิงที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 33 มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมถึง 27% เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่มีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 21 ขณะเดียวกัน การศึกษาของชาวอเมริกันเมื่อปี ค.ศ. 2002 ก็แสดงให้เห็นว่าหญิงในช่วงวัยหมดประจำเดือนที่น้ำหนักเพิ่มขึ้น 10 กิโลกรัมหรือมากกว่านั้น มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงที่มีน้ำหนักที่คงที่ถึง 18%

          ความสัมพันธ์เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ระดับการหมุนเวียนของฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มสูงขึ้นในช่วงวัยหมดประจำเดือน เพราะเนื้อเยื่อของชั้นไขมันที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ โรคอ้วนยังมีส่วนที่ทำให้ระดับอินซูลินในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และอาจจะกระตุ้นเซลล์มะเร็งให้เติบโตอีกต่างหาก

          อย่างไรก็ดี ก็มีคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนลักษณะการใช้ชีวิต เพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมได้ด้วยวิธีดังนี้
   
          ลดการใช้ฮอร์โมนทดแทน หลังวัยหมดประจำเดือน โดยหากเป็นโรคกระดูกพรุน ให้พิจารณาการรักษาแบบแพทย์ทางเลือกแทนการรักษาด้วยฮอร์โมน

          ควรมีลูกคนแรกในช่วงวัยที่เหมาะสม และการให้นมลูกในช่วง 6 เดือนแรก ก็จะลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านมได้

          หลีกเลี่ยงการปล่อยปละละเลยตัวเอง ซึ่งจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น

          ควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะส่งผลเสียและเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านมมากยิ่งขึ้น

          ออกกำลังกายตามปกติจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งเต้านมได้ดีที่สุด

          ทั้งนี้การให้ยา "Tamoxifen" หรือ "Raloxifene" เป็นระยะเวลา 5 ปี จะทำให้ผู้หญิงที่มีค่าเฉลี่ยของความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมสามารถ ลดอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมได้ถึง 50% หรืออาจจะมากกว่านั้น

          แต่ ไม่ว่าจะป้องกันด้วยวิธีใดก็ตาม สิ่งสุดท้ายที่ห้ามลืมโดยเด็ดขาด ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ผู้หญิงทุกคนควรจะทำเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป นั่นก็คือการเอ็กซเรย์ตรวจเต้านม เพราะวิธีนี้จะทำให้อัตราความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านมลดลง ได้
credit www.kapook.com