หนังสือแสดงเจตนา ไม่ประสงค์รับการรักษา ในวาระสุดท้ายของชีวิต

credit  ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 กรกฎาคม 2554 09:05 น.
ผศ.นพ.รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ ภาควิชาอายุรศาสตร์
      
       ความก้าวหน้าทางการแพทย์ช่วยให้ยืดชีวิตผู้ป่วยได้ จนทำให้มองข้ามความเป็นจริงในช่วงสุดท้ายของชีวิต ปัญหานี้มีทางออกแล้ว ด้วยการขอทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์รับบริการสาธารณสุขในวาระสุดท้ายของ ชีวิตครับ
      
       การทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์รับบริการสาธารณสุขในวาระสุดท้าย เพื่อยืดชีวิต หรือยุติความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยที่ไม่อาจรักษานั้น เป็นไปตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งระบุไว้ในมาตราที่ 12 เพื่อเน้นว่า บุคคลมีสิทธิในการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยของตนเอง โดยบุคคลสามารถระบุการรักษาบางอย่างที่ไม่ต้องการในวาระสุดท้ายของชีวิตไว้ ล่วงหน้า เช่น การปั๊มหัวใจ ก่อนที่ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัวหรือไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้รวมทั้ง สามารถระบุความต้องการพิเศษในวาระสุดท้าย เช่น ต้องการเสียชีวิตที่บ้าน รวมถึงการระบุว่าต้องการให้ใครเป็นผู้ตัดสินใจแทนตนเองเกี่ยวกับการรักษา พยาบาลในวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งผู้ป่วยควรแจ้งให้ญาติๆ ได้รับรู้ความต้องการของตนเองด้วย เพื่อให้แพทย์และครอบครัวปฏิบัติต่อผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิตได้อย่าง ถูกต้อง เหมาะสม และป้องกันความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้น
      
       ซึ่งใครๆ ก็สามารถทำหนังสือแสดงเจตนาฯ ได้แม้ในขณะที่ยังมีสุขภาพดี แต่ผู้ที่เหมาะสมที่จะทำก็คือ กลุ่มผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคซึ่งคุกคามต่อชีวิต เช่น โรคมะเร็ง และโรคเรื้อรังอื่นๆ ที่จะลุกลามไปจนทำให้เสียชีวิตในเวลาไม่นาน


       มีหลายคนที่เข้าใจผิดว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นของการขอให้แพทย์ช่วยทำให้ตายเร็วขึ้น (หรือที่เรียกว่า mercy killing = การุณยฆาต) แท้จริงแล้วการทำเจตนาฯ เป็นสิทธิของผู้ป่วยที่จะขอตายตามธรรมชาติอย่างสงบ เมื่อตนเองป่วยเป็นโรคร้ายจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต หรือบางคนเข้าใจว่าเมื่อแพทย์และพยาบาลเห็นหนังสือแสดงเจตนาฯ ของผู้ป่วยแล้ว จะไม่ใส่ใจดูแลผู้ป่วยอีกต่อไป ตรงกันข้ามแพทย์ยังคงมีหน้าที่ช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยจนถึงวาระสุดท้ายใน ลักษณะของการรักษาแบบประคับประคอง (palliative care) โดยเน้นที่การดูแลเยียวยาความเจ็บปวดทุกข์ทรมานทั้งกายและจิตใจของผู้ป่วย และญาติ
      
       ในการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ ประสงค์รับการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิตนี้ บุคคลสามารถทำที่ไหนก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้แบบฟอร์ม (ถ้าต้องการ สามารดูแบบฟอร์มตัวอย่างได้ในเว็บไซต์ www.thailivingwill.in.th) แต่ควรที่จะระบุให้ชัดเจนพอที่แพทย์และผู้เกี่ยวข้องจะปฏิบัติได้ตามความ ประสงค์ เช่น ระบุชื่อนามสกุลของผู้ทำหนังสือฯ เลขประจำตัวประชาชน วันเดือนปีที่ทำหนังสือแสดงเจตนา ระบุประเภทของบริการสาธารณสุขที่ต้องการและไม่ต้องการจะได้รับในวาระสุดท้าย และอาจระบุชื่อของบุคคลใกล้ชิดที่รู้ใจและต้องการให้ช่วยตัดสินใจแทนตนเอง (เมื่อผู้ป่วยไม่สามารสื่อสารด้วยตนเองได้แล้ว) และที่สำคัญที่สุด คือ ต้องลงลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วมือผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ด้วย
      
       การทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์รับการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิต รวมถึงการรักษาแบบประคับประคอง ถือเป็นการดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยเผชิญหน้ากับความเจ็บป่วยและใช้ชีวิตอย่างมี คุณค่า สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต รวมทั้งเป็นการดูแลครอบครัวของผู้ป่วยให้ผ่านช่วงเวลาแห่งความพลัดพรากและ ความทุกข์โศกไปได้ครับ
       //////////
      
       ชวนร่วมบุญเทศน์มหาชาติ
       เพื่อสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช
       คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล จัดงาน “เทศน์มหาชาติเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเฉลิมพระเกียรติ 79 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช” ระหว่างวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2554 ณ หอประชุมราชแพทยาลัย รพ.ศิริราช นอกจากมีเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ร่วมกับการแสดงประกอบแต่ละกัณฑ์แล้ว ยังมีสาธิตการทำเครื่องบูชาสดและการฝึกอาชีพ 108 อาชีพ ของนักเรียนอาชีวศึกษามาบริการแก่ประชาชนที่ร่วมงาน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ งานประชาสัมพันธ์ รพ.ศิริราช โทร.0 2419 7646-56
credit link http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000088891