คำถามยอดฮิต เกี่ยวกับโรค มะเร็งลำไส้


มะเร็งลำไส้


ถาม-ตอบ การป้องกันและการรักษา โรคมะเร็งลำไส้  (โรงพยาบาลพญาไท)
บทความโดย นพ.จักรพันธ์ โอแสงธรรมนนท์

          สำหรับใครที่สงสัยเรื่อง โรคมะเร็งลำไส้ วันนี้เรารวบรวมคำถามคำตอบยอดฮิตเกี่ยวกับเรื่อง โรคมะเร็งลำไส้ มาบอกกัน

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เรามีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้?

          ทุก ๆ คน มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ เกิดขึ้นกับอัตราเสี่ยงหลาย ๆ อย่าง คุณมีอัตราเสี่ยงเท่ากับคนทั่วไป ถ้าคุณมีอายุ 50 ปี หรือมากกว่าและไม่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่น

คุณจะมีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้นในการเป็นมะเร็งลำไส้ ถ้าคุณ...

          มีประวัติส่วนตัวเป็นมะเร็งลำไส้ หรือมีติ่งเนื้อ Adenomatous polyps

          มีประวัติครอบครัว โดย (บิดา มารดา พี่ชาย น้องสาว) คนใดคนหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งคนเป็นมะเร็งลำไส้ หรือมีติ่งเนื้อ ชนิด Adenomatous polyps

          มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งหลายชนิด ที่เกี่ยวกับเต้านม รังไข่ มดลูก และอวัยวะอื่น ๆ

          มีประวัติส่วนตัวเป็นลำไส้อักเสบ เช่น Ulcerative colitis หรือ Crohn’s disease

          มีกรรมพันธุ์บางอย่างผิดปกติ ที่จะทำให้คุณมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ อย่างไรก็ตามไม่พบบ่อยนัก

  ปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มการเกิดมะเร็งลำไส้

          การกินอาหารที่มีเส้นใย (fiber) น้อย แต่มีไขมันมาก

          การนั่งอยู่กับที่ไม่ค่อยมีการขยับไปมา (Sedentary lifestyle)

  ผู้หญิงกับผู้ชาย มีปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ต่างกันหรือไม่?

          เพศชาย หรือเพศหญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้เท่า ๆ กัน

อาการแสดงของมะเร็งลำไส้เป็นอย่างไร?

          มะเร็งลำไส้เริ่มต้นโดยคนไข้อาจไม่มีอาการเลย อย่างไรก็ตามเมื่อเป็นได้สักระยะหนึ่งจะเริ่มมีอาการแสดง ดังนี้

          มีเลือดออกจากทวารหนัก

          มีเลือดในอุจจาระ (แดงสดหรือดำ)

          มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนครั้งในการถ่ายอุจจาระไปจากเดิม และโดยเฉพาะรูปร่างของอุจจาระจะเล็กลง

          มีอาการปวดที่บริเวณท้องช่วงล่าง

          มีอาการปวดจากท้องอืดบ่อยขึ้น

          มีความไม่สะดวก หรือรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระโดยที่ปกติไม่เป็น

          น้ำหนักลดเองโดยไม่ได้ต้องการลดน้ำหนัก

          มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง

  การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมด (Colonoscopy) ทำอย่างไร

          วิธีการนี้จะตรวจลำไส้ใหญ่ของคนไข้ทั้งหมด ซึ่งจะทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านทางเดินอาหาร แพทย์จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Colonoscope เป็นท่อยาว, เบา, โค้งไปมาได้ ตรวจดูลำไส้ใหญ่ทั้งหมด เพื่อหามะเร็งและติ่งเนื้อ

          การเตรียมลำไส้ โดยให้ยาเพื่อให้ลำไส้ไม่มีอุจจาระเหลือ เป็นสิ่งจำเป็นก่อนการส่องกล้องตรวจ ตัวกล้องโคโลโนสโคปจะมีกล้องถ่ายรูปที่ปลายส่งสัญญาณมาที่โทรทัศน์ เพื่อแสดงภาพ ข้อดีของกล้องโคโลโนสโคป คือ เมื่อส่องพบติ่งเนื้อจะสามารถตัดติ่งเนื้อออกมาทั้งหมด โดยการใส่เครื่องมือผ่านตัวกล้องเข้าไปตัด และเอาติ่งเนื้อนั้นส่งตรวจทางพยาธิเพื่อหามะเร็งลำไส้ได้ การส่องกล้องโดยวิธีนี้ แพทย์จะให้ยานอนหลับกับคนไข้แล้วใช้เวลาตรวจประมาณ 30 ถึง 60 นาที ถ้ามีการตัดชิ้นเนื้ออาจมีเลือดจำนวนเล็กน้อยปนในอุจจาระได้ 2-3 วัน

การสวนแป้งและ x-ray ตรวจลำไส้ใหญ่ (Barium enema) ทำได้อย่างไร

          วิธีการนี้เป็นการใส่แป้งเข้าไปในลำไส้ใหญ่ทั้งหมด แล้ว x-ray ตรวจ อาจใช้แทนการตรวจโคโลโนสโคป หลังจากเตรียมลำไส้ให้สะอาดจะมีการใส่ท่อนิ่ม ๆ เข้าทางทวารหนักและใส่น้ำเรียกว่า การ x-ray จะเริ่มทำเมื่อ barium ไหลไปตามลำไส้ และขอบเขตของก้อนติ่งเนื้อ หรือความผิดปกติอื่น ๆ คนไข้อาจมีความรู้สึกปวดและอยากจะถ่ายขณะที่ทำการตรวจ วิธีการนี้จะใช้แทนการทำโคโลโนสโคปในคนไข้ที่ไม่เหมาะสมในการทำโคโลโนสโคป และจะทำทุก 5-10 ปี

จะเตรียมตัวอย่างไรในการตรวจหามะเร็งลำไส้?

          การเตรียมตัวตรวจที่ดี จะช่วยให้คุณมั่นใจว่าการตรวจของคุณได้ผลแม่นยำ โดยแพทย์จะแนะนำการปฏิบัติตัว ก่อนการตรวจทุกครั้งควรบอกแพทย์ถึงยาที่คุณกำลังกินประจำ เพราะยาบางตัวจะมีผลต่อการตรวจได้

ถ้าตรวจพบว่าเป็นมะเร็งลำไส้จะทำอย่างไร?

          ถ้าตรวจพบมะเร็งลำไส้ การผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเอามะเร็งออก ชนิดของการผ่าตัดและการติดตามการรักษาขึ้นกับขนาด และการกระจายของมะเร็ง

  ทำอย่างไรจึงจะป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้?

          เป็นการยากที่จะกำจัดและป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งลำไส้ทั้งหมด ดังนั้นการตรวจหามะเร็งลำไส้ตั้งแต่ต้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น แต่อย่างไรก็ตามมีหลักฐานในการลดการเกิดมะเร็งลำไส้ ดังนี้

          กินอาหารที่มีเส้นใยมาก โดยเฉพาะผักและผลไม้

          หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว



ขอขอบคุณข้อมูลจาก