แพทย์ศิริราช ทำสำเร็จ ปลูกถ่ายตับ รายแรก






หมอศิริราชทำสำเร็จ ปลูกถ่ายตับรายแรก (ไทยโพสต์)

          หมอ ศิริราชประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายตับอ่อนรายแรกของไทย ระบุได้ผลดีกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ที่เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อน ไม่ใช่ชนิดที่ 2 ที่เกิดจากการใช้ชีวิต การกิน

          ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 23 ธันวาคมนี้ ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล พร้อมด้วย นพ.ยงยุทธ ศิริวัฒนอักษร หัวหน้าทีมศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ นพ.สมชัย ลิ้มศรีจำเริญ ทีมศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะ ร่วมกันแถลงเรื่องการปลูกถ่ายตับอ่อนสำเร็จเป็นรายแรกของไทย โดยนำนายสมนึก พิสัยพันธ์ ผู้ได้รับการปลูกถ่ายตับอ่อนมาปรากฏตัวด้วย

          ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กล่าวว่า นับ เป็นอีกก้าวที่ยิ่งใหญ่ของทีมแพทย์ไทยที่การผ่าตัดเปลี่ยนตับอ่อนให้ผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งโรคเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนเองที่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินทำ หน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยมากมักจะพบในเด็ก ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 นี้ถือเป็นผู้ป่วยเบาหวานส่วนน้อยในประเทศไทย มีเพียงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต การกิน ที่มักพบในวัยสูงอายุและคนอ้วน

          ตับอ่อนอยู่ด้านหลังกระเพาะอาหาร ลักษณะเป็นอวัยวะทรงรีขวางกลางลำตัว ทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยและผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ตับอ่อนจะสร้างอินซูลินได้น้อยหรือไม่สร้างเลย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยไม่นิ่ง โดยจะสวิงต่ำเกินไปและสูงเกินไปอยู่ตลอดเวลา ส่งผลเสียต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตเป็นอย่างยิ่ง หากต่ำเกินไปอาจช็อกจนเสียชีวิตได้ หากสูงเกินไปจะส่งผลต่อไต ทำให้ไตวาย จอประสาทตาเสื่อม หลอดเลือดหัวใจตีบ

          ด้าน ดร.นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า การ ปลูกถ่ายเปลี่ยนตับอ่อนนี้เป็นเรื่องใหม่ของประเทศไทย แต่ทำมานานแล้วในอเมริกา การเปลี่ยนตับอ่อน ใช้ตับอ่อนจากผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตายและแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ แต่ในเมืองไทยยังมีอยู่ไม่มากการลงชื่อแสดงความจำนงขอรับบริจาคก็มีน้อยเช่น กัน ใน 10 ปีนี้ที่ไปลงนามที่สภากาชาดไทยพบนายสมนึก นิสัยพันธ์ คนเดียว

          นายสมนึก ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนตับอ่อนสำเร็จเป็นคนแรก กล่าวว่า ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ตั้งแต่อายุ 20 ปี พอป่วยได้ 5 ปีก็เกิดภาวะไตวาย ต้องฟอกไต 3 วันต่อ 1 สัปดาห์ ครั้งละ 4-5 ชั่วโมง คุณภาพชีวิตแย่มาก เพราะต้องระวังเรื่องน้ำตาลที่สวิงตลอดเวลา ฉีดอินซูลินวันละ 4 ครั้ง แต่ก็ยังไม่ดีขึ้นเท่าใดนัก บ่อยครั้งที่น้ำตาลต่ำจนช็อก และสูงขึ้นไปถึงหลักพัน แล้วยังต้องดูแลร่างกายตัวเองจากสภาวะไตวาย จนกระทั่ง พ.ศ.2550 ได้รับบริจาคไตจากผู้ป่วยสมองตายและผ่าตัดเปลี่ยนไต

          "ผม โชคดีมาก พอผ่าแล้วฟื้นตัวออกจากโรงพยาบาล ระดับน้ำตาลปกติตลอด จากเดิมที่ต้องกังวลตลอดเวลาเกี่ยวกับระดับน้ำตาลก็ไม่ต้องกังวลอีก ตอนนี้ดูแลเฉพาะเรื่องกินยากดภูมิคุ้มกันเท่านั้น ชีวิตดีขึ้นมากครับ"

          นพ.สมชัยกล่าวถึงการผ่าตัดผู้ป่วยรายนี้ว่า เดิมนายสมนึกเคยปลูกถ่ายไตมาแล้ว และเคยปลูกถ่ายตับอ่อนมา 1 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ ตับอ่อนใหม่ที่ใส่เพิ่มเข้าไปทำงานอยู่ 7 วันแล้วเกิดหลอดเลือดอุดตันจึงต้องผ่าเอาออก คราวนี้ถือเป็นการเปลี่ยนตับอ่อนครั้งที่ 2 ระยะเวลาผ่าตัดประมาณ 3 ชั่วโมง เสียเลือดไม่มากและไม่ต้องให้เลือดเพิ่ม อาการดีจนไม่ต้องพักในห้องไอซียู หลังจากผ่าตัดสามารถพักฟื้นในหอผู้ป่วยเปลี่ยนถ่ายอวัยวะได้เลย และเพียงแค่ 1 วันตับอ่อนก็สามารถผลิตอินซูลินจนระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ

          "ค่า ใช้จ่ายทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 300,000 บาท แต่คุณสมนึกเบิกโดยใช้สิทธิข้าราชการ จริง ๆ ค่าผ่าตัดไม่ถึง แต่ที่แพงคือค่ายา มีอยู่ตัวหนึ่งราคาประมาณ 100,000 บาท โดยผู้ป่วยโรคนี้จะต้องกินยากดภูมิไปตลอดชีวิต ช่วงเดือนแรกหลังผ่าตัดจะมีค่าใช้จ่ายเรื่องยานี้ประมาณ 20,000-30,000 บาท แต่หลัง 3 เดือนไปจะปรับให้น้อยลงคือเหลือประมาณ 10,000 บาท โดยยานี้เราจะปรับให้ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ถ้าเทียบแล้วการไม่ผ่าตัดและฉีดอินซูลินไปเรื่อย ๆ กับการผ่าตัดแล้วต้องกินยากดภูมิ เชื่อว่าประการหลังคนไข้มีคุณภาพชีวิตดีกว่าแน่นอน" นพ.สมชัยกล่าว


http://health.kapook.com/view19942.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก