นิ่วในไต จะน่ากลัวหรือไม่ ควรรู้ไว้?


นิ่วในไต

นิ่วในไต จะน่ากลัวหรือไม่ ควรรู้ไว้? (กรุงเทพธุรกิจ)
          นิ่วในไต เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และพบมากในช่วงอายุ 30-40 ปี

          นิ่ว ในไต Renal calculi จะพบในประเทศอุตสาหกรรมมากกว่าประเทศเกษตรกรรม นิ่วในไต มักเกิดจากการที่ปัสสาวะเข้มข้นมากและตกตะกอนเป็นนิ่วมักจะเกิดที่ไตบริเวณ กรวยไต และเมื่อนิ่วหลุดลงมาท่อไตก็จะเกิดอาการปวดท้องทันทีเหมือนคนปวดท้องคลอดลูก พบว่าเมื่อเป็นนิ่วโอกาสที่จะเกิดเป็นซ้ำประมาณครึ่งหนึ่งในเวลา 10 ปี ผู้ป่วยร้อยละ 80 นิ่วสามารถออกได้เอง

ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วทางเดินปัสสาวะจะมีอาการอะไรบ้าง

          อาการของนิ่วในทางเดินปัสสาวะจะขึ้นกับขนาดของนิ่ว ตำแหน่งที่นิ่วนั้นอุดอยู่ นิ่วนั้นอุดทางเดินปัสสาวะมากน้อยแค่ไหน

           นิ่วที่อุดท่อไตกับกรวยไต ureteropelvic junction [UPJ] ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเอวโดยที่ไม่มีอาการปวดร้าวไปบริเวณขาหนีบ

           นิ่วอุดที่ท่อไต ureter ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องอย่างทันทีปวดอย่างรุนแรงปวดบิดเหมือนคลอดลูก บางคนปวดเอวและปวดร้าวลงมาบริเวณอวัยวะเพศ อาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน

           นิ่วอุดที่ท่อไตต่อกับกระเพาะปัสสาวะ ureterovesicle junction ผู้ป่วยจะมีอาการระคายเคืองเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะ

          นิ่ว อยู่ในกระเพาะปัสสาวะ อาจจะไม่มีอาการ หรืออาจจะมีอาการปัสสาวะขัด เมื่อแพทย์ตรวจร่างกายอาจจะทุบเบา ๆ บริเวณหลังอาจจะทำให้ปวดเพิ่มขึ้น

ผลเสียของ นิ่วในไต 

           ปวดท้องเมื่อนิ่วอุดท่อไต

           มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

           ถ้ามีการอุดนานจะทำให้เกิดการเสื่อมของไต

สาเหตุของ นิ่วในไต

          ก้อน นิ่วที่เกิดขึ้นในไตประกอบด้วยหินปูน (แคลเซียม) กับสารเคมีอื่น ๆ เช่น ออกซาเลต, กรดยูริก เป็นต้น การเกิดนิ่วจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะที่มีแคลเซียมในปัสสาวะมากผิดปกติ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการกินอาหารที่แคลเซียมสูง การดื่มนมมาก ๆ หรือมีภาวะผิดปกติอื่น ๆ (เช่น ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไปซึ่งทำให้แคลเซียมในเลือดสูง) นอกจากนี้ ยังพบเป็นโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเกาต์ ซึ่งมีการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ

          ส่วน กลไกของการเกิดนิ่วนั้น ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าคงมีปัจจัยร่วมกันหลายอย่างด้วยกัน เช่น การอยู่ในเขตร้อนที่ร่างกายสูญเสียเหงื่อง่าย แล้วดื่มน้ำน้อย ทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นของแคลเซียม, การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ, ความผิดปกติทางโครงสร้างของไต เป็นต้น

          คนที่ชอบกินอาหารที่มีสารซาเลตสูง หรือกินวิตามินซีขนาดสูง ๆ (ซึ่งจะกลายเป็นสารออกซาเลตสูง) ก็มีโอกาสเป็นนิ่วมากกว่าคนปกติ
อาการ นิ่วในไต

           ผู้ ป่วยอาจมีอาการปวดเอวปวดหลังข้างใดข้างหนึ่ง ลักษณะปวดแบบเสียด ๆ หรือปวดบิดเป็นพัก ๆ อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะอาจมีลักษณะขุ่นแดง หรือมีเม็ดทราย

           ถ้าก้อนนิ่วมีขนาดเล็ก อาจตกลงมาที่ท่อไต ทำให้เกิดอาการปวดบิดในท้องรุนแรง  บางรายอาจไม่มีอาการแสดงเลยก็ได้

อาการแทรกซ้อน นิ่วในไต

          อาจทำให้เกิดการติดเชื้อกลายเป็นกรวยไตอักเสบ และถ้าปล่อยไว้นาน ๆ มีการติดเชื้อบ่อย ๆ ก็ทำให้เนื้อไตเสีย กลายเป็นไตวายเรื้อรังได้

การรักษา นิ่วในไต

           หากสงสัยควรส่งโรงพยาบาล

           มัก จะวินิจฉัยโดยการตรวจปัสสาวะ (พบมีเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก) ตรวจเลือด เอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์ไตด้วยการฉีดสี (intravenous pyelogram หรือ IVP) และอาจตรวจพิเศษอื่น ๆ ถ้าจำเป็น

           ถ้า นิ่วก้อนเล็กอาจหลุดออกมาได้เอง แต้ถ้าก้อนใหญ่อาจต้องผ่าตัดเอาออก หรือใช้เครื่องสลายนิ่ว (extracorporeal shock wave lithotripsy/ESWL) สลายนิ่วโดยการใช้เสียงความถี่สูงทำให้นิ่วระเบิดเป็นผงโดยไม่ต้องผ่าตัด ถ้ามีอาการปวดให้ยาแก้ไข้ หรือแอนติสปาสโมดิก

           ถ้ามีอาการติดเชื้อให้ยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซีซิลลิน, โคไตรม็อกซาโซล หรือนอร์ฟล็อกซาซิน เช่นเดียวกับการรักษากรวยไตอักเสบเฉียบพลัน

           ในรายที่มีสาเหตุชัดเจน ควรให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ เช่น ให้ยารักษาโรคเกาต์ในรายที่เป็นโรคเกาต์ เป็นต้น

ข้อแนะนำ

           1. โรคนี้แม้ไม่มีอาการแสดง ก็ควรจะรักษาอย่างจริงรัง ถ้าจำเป็นอาจต้องผ่าตัดเอาออก หรือใช้เครื่องมือสลายนิ่ว หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดแทรกซ้อนเป็นอันตรายได้

           2.  ผู้ป่วยควรดื่มน้ำมาก ๆ และลดอาหารที่มีกรดยูริก แคลเซียม และสารออกซาเลตสูง ถ้าเป็นนิ่วก้อนใหญ่ ควรรักษาด้วยการใช้เครื่องสลายนิ่วหรือการผ่าตัด




http://health.kapook.com/view4476.html
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก