“หมอวิชัย” ท้า สภานายจ้างฟ้องศาลปกครอง

credit  ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 กรกฎาคม 2554 09:05 น.
“หมอวิชัย” ท้า สภานายจ้างเดินหน้าฟ้องศาลปกครองเต็มที่ ยันไม่ใช่คำสั่ง เชื่อ ศาลไม่รับฟ้อง แจงข้อเสนอของ สปสช.ไม่ขัดต่อมาตรา 5
      
       จากกรณี สภานายจ้างและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เตรียมจะฟ้องศาลปกครอง กรณีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ออกคำสั่งไม่ชอบธรรมและเลือกปฏิบัติที่จะเรียกเก็บเงินจาก สำนักงานหลักประกันสังคม (สปส.) จำนวน 2.3 หมื่นล้านบาท หากมีการโอนผู้ประกันตน 9.4 ล้านคนเข้าสู่ระบบ ซึ่งจะยื่นฟ้องในวันที่ 22 ก.ค.นี้ โดยระบุว่า ขัดต่อมาตรา 5 ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 นั้น
      
       ล่าสุด นพ.วิชัย โชควิวัฒน กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า เรื่อง การฟ้องนั้นเป็นสิทธิ์ของทุกคนอยู่แล้ว แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่า ศาลไม่น่าจะรับฟ้อง เพราะแนวทางการดังกล่าว เป็นเพียงข้อเสนอของการประชุมคณะกรรมการร่วม ทั้ง สปสช.และ สปส.เท่านั้น ยังไม่ได้ออกเป็นคำสั่งใดๆ จึงไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลกับเรื่องนี้
      
       นพ.วิชัย กล่าวด้วยว่า กรณีที่ทางผู้จะดำเนินการฟ้องศาล ระบุว่า เป็นการกระทำอันขัดต่อ มาตรา 5 นั้น น่าจะเป็นการเข้าใจผิดและตีความหมายของ พ.ร.บ.ผิด เพราะตามมาตรา 5 นั้นมี 3 วรรค โดยวรรคแรกระบุใจความสำคัญว่า สปสช.บุคคลมีสิทธิ์ที่จะได้รับบริการอย่างเท่าเทียมเหมือนกันทุกคน แต่การจัดการบริการนั้น สปสช.มีสิทธิ์จะเรียกเก็บได้ในรายครั้ง ตามความเหมาะสม หรือจะไม่เก็บเลยก็ได้ วรรคสองนั้นในช่วงแรกที่ก่อตั้ง สปสช.กำหนดให้มีการเก็บเงิน 30 บาท แต่เห็นว่า เป็นการเพิ่มภาระงานและขั้นตอน จึงได้ยกเลิกไป ซึ่งก็เป็นผลดีต่อผู้รับบริการ และวรรคสาม ระบุว่า ประเภทและขอบเขตการให้บริการแก่บุคคลนั้นให้เป็นไปตาม สปสช.กำหนด ในส่วนนี้ละเว้นไว้เพราะโรคแต่ละชนิดนั้นมีความร้ายแรง ต่างกัน บางโรคต้องอาศัยยาและวิธีการรักษาที่สูงและเกินกว่าค่าเหมาจ่ายรายหัวจะ เพียงพอก็ต้องแยกบริการมาดูแลเพิ่มเติม เช่น โรคเอดส์ นั้น ยารักษาก็ต้องใช้ยาที่มีราคาแพง และจำเป็นต้องจ่ายสูงขึ้น ก็ต้องมีบริการที่แตกต่างจากป่วยธรรมดา
      
       “ในส่วนการตีความตาม มาตราต่างๆ ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพนั้น จะตีความในแบบใครแบบมันไม่ได้ เพราะ สปสช.หรือ สปส.ย่อมเข้าใจต่างกัน ดังนั้นอยากให้รอเวลาที่เหมาะสมเพื่อยื่นให้กับผู้รู้ในด้านกฎหมายอย่างก ฤษฏีกาเป็นผู้ตีความจะดีกว่า ซึ่งกว่าเรื่องการโอนผู้ประกันตน จะเสร็จสิ้นถึงขั้นออกเป็นพระราชกฤษฎีกาก็นานพอสมควร ดังนั้นจะนำข้อเสนอในการประชุมระหว่างหน่วยงานมาตีความแล้วฟ้องศาลให้เพิก ถอนก็เป็นไปได้ยาก” นพ.วิชัย กล่าว

credit link http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000088938