เฟรชชี่และรุ่นพี่ในมหา"ลัย

คอลัมน์ รู้ไปโม้ด
น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com


ถึง น้าชาติ

ถึง ฤดูต้อนรับน้องใหม่แล้ว น้องปี 1 เรียกว่า เฟรชชี่ ส่วนนักศึกษาปี 2-4 เรียกว่าอะไร และคณะที่ต้องเรียนมากกว่า 4 ปี มี คำเรียกนักศึกษาแต่ละชั้นปีว่าอย่างไรคะ

จาก น้องใหม่

ตอบ น้องใหม่

หลัก สูตรส่วนใหญ่ในระดับอุดม ศึกษาของประเทศไทยมีระยะเวลาเรียน 4 ปี ส่วนคณะที่เรียน 5 ปี อาทิ คณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะครุศาสตร์ สำหรับสาขาด้านการแพทย์ที่ใช้เวลาเรียน 6 ปี เช่น คณะแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทย ศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์

รุ่นน้องและรุ่นพี่มีคำเรียกในแต่ละชั้นปีที่เรียกตามระบบการศึกษาของสหรัฐ

วิ กิพีเดีย ระบุระบบการศึกษาในสหรัฐว่า นักศึกษาปี 1 เรียกว่า เฟรชชี่ (freshie) หรือ เฟรช แมน (freshman) และมีศัพท์สแลงว่า ฟิช (ปลา), นิว-จี, ฟรอช, นิวบี, สนอตเตอร์, เฟรชมีต (เนื้อสด) แต่โดยรวมแล้วมักจะเรียกว่านักศึกษาปี 1

ส่วน นักศึกษาปีที่ 2 เรียกว่า ซอฟะ มอร์ (sophomore) หมายถึง ความโง่ที่เฉลียวฉลาด เพราะนักศึกษาปี 2 เริ่มจะมีความรู้ แต่ยังรู้ไม่ถ่องแท้

นัก นิรุกติศาสตร์บอก ที่มาของคำนี้ว่ามีรากศัพท์มาจากภาษากรีกสองคำ คือ sophos ที่แปลว่า ฉลาด และคำว่า moros แปลว่า โง่ นำมาสู่คำว่า sophisma ที่แปลว่า ต้องการทักษะหรือวิธีการในการนำมาสู่ความเฉลียวฉลาด

ใน อดีตคำๆ นี้ในภาษาอังกฤษ สะกดว่า Sophumer แปลว่า ฉลาด มีทักษะ ใช้เรียกครั้งแรกในศตวรรษที่ 7 กระทั่ง พ.ศ.2269 ชาวสหรัฐนำคำนี้ไปใช้ แต่สะกดว่า sophomore คำที่สะกดแบบนี้จึงใช้กันอย่างแพร่หลายต่อมา

นัก ศึกษาปีที่ 3 เรียกว่า จูเนียร์ (junior) และเรียก นักศึกษาปีที่ 4 หรือปีสุดท้ายว่า ซีเนียร์ (senior) ส่วน นักศึกษาที่ใช้เวลาเรียนเกิน 4 ปี เรียกว่า ซูเปอร์ซีเนียร์ (super senior)

ยังมีคำอื่นๆ ที่ใช้เรียก น้องปี 1 และ ปี 2 ว่า อันเดอร์คลาสแมน (underclassman) แทนคำว่าเฟรชแมนและซอฟะมอร์ และเรียก นักศึกษาปี 3 และ 4 ว่า อัพเพอร์คลาสแมน (upperclassman) แทนคำว่า จูเนียร์และซีเนียร์

มหาวิทยาลัย บางแห่ง และบางคณะที่ใช้เวลาเรียน 5 ปี จะเรียกนัก ศึกษาปี 3 ว่า มิดด์ เลอร์ (middler) และเรียกนักศึกษาปี 4 ว่า จูเนียร์ ส่วนนักศึกษาปี 5 เรียกว่า ซีเนียร์

สำหรับการเรียนแพทยศาสตร์ในประ เทศไทยใช้เวลาเรียน 6 ปี ปีแรกเรียนวิทยา ศาสตร์ทั่วไป เน้นเกี่ยว ข้องทางชีววิทยา ปีที่ 2-3 เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์ เรียกระยะ นี้ว่า ปรีคลินิก ปีที่ 4-5 เรียนและฝึกงานผู้ป่วยจริงร่วมกับแพทย์รุ่นพี่และอาจารย์ เรียกว่า ชั้นคลินิก (Clinic) และปีสุดท้ายเน้นฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริงภายใต้การดูแลของแพทย์รุ่นพี่และ อาจารย์ เรียกระยะนี้ว่า เอ็กซ์เทิร์น (Extern) จากนั้น แพทย์จบใหม่จะต้องใช้ทุนของแพทย์เป็นเวลา 3 ปี โดยต้องทำงานให้รัฐบาลรัฐแห่งใหญ่ๆ ภายใต้การดูแลของแพทย์รุ่นพี่ที่มีประสบการณ์เป็นเวลา 1 ปี เรียกระยะนี้ว่า อินเทิร์น (Intern)

หลังจากนั้นสามารถสมัครเพื่ออบรมเป็น แพทย์ประจำบ้าน (Medical Resident) เมื่อจบหลักสูตรการอบรมและสามารถสอบใบรับรองจากราชวิทยาลัยแพทย์ต่างๆ ได้แล้ว จึงจะได้เป็นแพทย์ เฉพาะทางต่อไป

ส่วนนักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีธรรมเนียมเรียกน้องปี 1 ว่า เซตัส (setus) หมายถึง ตัวอ่อนในครรภ์มารดา นักศึกษา ปี 2 เรียกว่า เฟรชชี่ นักศึกษาปี 3 เรียก เธิร์ด เยียร์ (third year) นักศึกษาปี 4 เรียกว่า ซอฟะมอร์ นักศึกษาปี 5 เรียกว่า จูเนียร์ และนักศึกษาปี 6 เรียกว่า ซีเนียร์