สโลว์ฟู้ด

รู้ไปโม้ด
nachart@yahoo.com


ถึง น้าชาติดิฉันเคยได้ยินคำว่า "สโลว์ฟู้ด" เป็นครั้งแรกจากเพื่อน แต่ไม่ค่อยเข้าใจความหมายมากนัก น้าชาติช่วยไขข้อข้องใจด้วยค่ะ

จาก ธัญญา

ตอบ ธัญญา


คนต้นคิดการกินแบบสโลว์ฟู้ดหรือการกินแบบเนิบช้า คือ นายคาร์โล เปตรินี (Carlo Petrini) นักข่าวชาวอิตาเลียน ประจำคอลัมน์อาหารและไวน์ ซึ่งต่อต้านกิจการร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดแห่งหนึ่งที่ขยายสาขาเข้ามาในกรุงโรม ประเทศอิตาลี ในปี 2529 เปตรินีจึงชักชวนเพื่อนฝูงที่อยากรักษาวัฒนธรรมการกินแบบช้าๆ ละเมียดละไมของชาวอิตาเลียนเอาไว้ และร่วมกันก่อตั้ง "สมาคมสโลว์ฟู้ด" ขึ้นมาโดยใช้หอยทากเป็นสัญลักษณ์

ปรัชญาของสโลว์ฟู้ด คือ ดี (Good) สะอาด (Clean) และเป็นธรรม (Fair) คือ อาหารต้องผ่านกระบวนการผลิตที่สะอาด ใส่ใจสุขภาพผู้บริโภค ราคาสมเหตุสมผล และเกษตรกรหรือผู้ผลิตอาหารควรได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม

หัวใจสำคัญของสโลว์ฟู้ด คือ ให้ความสำคัญกับศิลปะการทำอาหารและการชื่นชมรสชาติอาหาร พร้อมๆ กับการสังสรรค์ในหมู่เพื่อนฝูงที่ล้อมวงกินข้าวด้วยกัน

เริ่มตั้งแต่ การใส่ใจตั้งแต่วัตถุดิบที่เน้นพืชผักที่ปลูกในท้องถิ่น ไม่ใช้สารเคมีมากนัก และความหลากหลายของพืชผักตามฤดูกาล สมาคมสโลว์ฟู้ดต่อต้านมาตรการที่ซูเปอร์มาร์เก็ตตั้งไว้เพื่อกีดกันพืชผัก ของชาวไร่ที่สีไม่สวยโดยถือว่าไม่ได้มาตรฐาน แล้วไปรับพืชผักที่ผลิตจากโรงงานมาวางขายตามชั้นวางแทน ทำให้ผักที่ผู้บริโภคเคยเลือกซื้อกลับมีเหลือให้เลือกไม่กี่ชนิด

ขั้นตอนการปรุงอาหารมีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะผู้ปรุง อาหารต้องมีอารมณ์ดี ใส่ใจการปรุงอาหารและมีศิลปะในการทำอาหารจึงจะสรรค์สร้างอาหารจานอร่อยได้ ต่างจากการทำอาหารฟาสต์ฟู้ดที่เน้นปริมาณอาหารเพื่อตอบสนองลูกค้าที่ต้องการ ความเร่งด่วนในการกิน ส่วนผู้นิยมอาหารแบบสโลว์ฟู้ดจะค่อยๆ กินกันไปคุยกันไป

เว็บไซต์ gourmetthai.com บอกข้อดีของการบริโภคแบบสโลว์ฟู้ดว่า ได้กินอาหารที่เป็นธรรมชาติจากท้องถิ่นเพราะเกษตรกรอาจไม่ใช้สารเคมีหรือใช้ แต่น้อย จึงปลอดภัยและมีความสด มีคุณค่าทางโภชนา การมากกว่าอาหารที่ต้องขนส่งมาจากที่ไกลๆ ซึ่งจะทำให้คุณค่าทางโภชนา การสูญเสียไปในระหว่างการขนส่ง โดยเฉพาะวิตามิน

ส่วนการปรุง อาหารแบบสโลว์ฟู้ดพิถีพิถันเพื่อกินเพียงมื้อเดียว ไม่ใช้สารเคมีประเภทสารกันบูด กันเชื้อรา จึงทำให้ความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลดลง

การผลิตอาหารตามแนวคิดสโลว์ฟู้ดยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และช่วยเพิ่มความหลากหลายของพืชพันธุ์ตามธรรมชาติอีกด้วย

ด้านเว็บไซต์ slowfood.com ระบุว่าสมาคมสโลว์ฟู้ดมีสมาชิกกว่า 1 แสนคนใน 153 ประเทศ และมีสำนักงานในหลายประเทศ เช่น สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี สหรัฐ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อังกฤษและชิลี อีกทั้งมีสมาชิกหน้าใหม่กว่า 5 พันคนต่อปี ขณะเดียวกัน มีผู้ผลิตอาหารรายย่อยเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 1 หมื่นแห่ง และมีโรงเรียนกว่า 100 แห่งทั่วโลกที่ปลูกพืชผักสวนครัวในโรงเรียน

องค์ กรสโลว์ฟู้ดยังจัดประชุมชุมชนอาหารโลก Terra Madre ทุกๆ สองปี ที่เมืองตูริน ประเทศอิตาลี เป็นการพบปะกันระหว่างเกษตรกร ชาวประมง คนเลี้ยงสัตว์ นักวิชาการและผู้สนใจมาหารือและทำเวิร์กช็อปเกี่ยวกับการผลิตแบบยั่งยืน และการอนุรักษ์พืชผักพันธุ์ท้องถิ่นที่กำลังสูญหาย