มะเร็งต่อมลูกหมาก ฝันร้าย ของผู้ชาย!

ผู้ชาย มะเร็งต่อมลูกหมาก
ผู้ชาย ต้องระวัง มะเร็งต่อมลูกหมาก


มะเร็งต่อมลูกหมาก ฝันร้าย ของผู้ชาย!  (เดลินิวส์)


          ชายใดเล่าอยากเผชิญกับโรคร้ายที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์อย่าง มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer) ที่เป็นเหมือนฝันร้ายตามรังควานการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะผู้ป่วยจะ ไม่มีแรงขับปัสสาวะ มีเลือดออกขณะขับปัสสาวะหรือในน้ำอสุจิ ปัสสาวะขัด ปวดปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะในเวลากลางคืน ปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน และปวดกระดูกหรือกระดูกเปราะแตก...หากเป็นเช่นที่กล่าว ชีวิตของคุณคงมีปัญหาแน่

          ที่ว่าเป็นปัญหา เพราะ ต่อมลูกหมาก อยู่ติดกับกระเพาะปัสสาวะ มีท่อปัสสาวะร้อยเข้าต่อม ขนาดเท่าผลวอลนัท ราว 2-3 เซนติเมตร มีหน้าที่สำคัญ คือ สร้างน้ำหล่อเลี้ยงอสุจิ

          แม้ มะเร็งต่อมลูกหมาก จะไม่ใช่สาเหตุการเสียชีวิตของชายไทยในอันดับต้น ๆ แต่ นพ.อภิชาต พานิชชีวลักษณ์ แพทย์รังสีรักษา ประจำศูนย์มะเร็งฮอไรสัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ คาดการณ์ว่า หากชายไทยนิยมบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารสไตล์ตะวันตก ก็มีแนวโน้มที่จะป่วยด้วยโรค มะเร็งต่อมลูกหมาก เพิ่มมากขึ้น นอก จากความเสี่ยงที่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารแล้ว ยังสามารถเกิดกับชายที่ชอบเพิ่มปริมาณฮอร์โมนเพศชาย หรือเทสโทสเตอโรน อย่างไม่ถูกต้อง และยังอาจเชื่อมโยงกับเรื่องพันธุกรรม

          โรค มะเร็งต่อมลูกหมาก นี้จะพบมากในชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือยิ่งสูงวัยก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น ดังนั้น เมื่อมีอายุอยู่ในวัยดังกล่าว ก็ควรเข้ารับการตรวจ PSA (Prostate Specific Antigen) หา มะเร็งต่อมลูกหมาก ในระยะเริ่มแรกเป็นประจำทุกปี โดย แพทย์จะเจาะเลือดไปทำการตรวจวิเคราะห์ค่าเฉพาะ หากเกินกว่าระดับ 4 ถือว่ามีความเสี่ยง ชายผู้นั้นจะได้รับการตรวจอย่างละเอียด ด้วยการใช้มือสอดผ่านทางทวารหนักเพื่อคลำตรวจว่า ต่อมลูกหมากผิดรูปหรือไม่ ซึ่งถ้ายังคงสงสัยแพทย์อาจจะทำการตัดชิ้นเนื้อบริเวณดังกล่าวไปตรวจพิสูจน์

          ทั้ง นี้หากละเลยการตรวจป้องกันเสียแต่เนิ่น ๆ  ไม่ใช่แค่อาการปวดที่เกิดจากต่อมลูกหมากบวมโตรัดท่อปัสสาวะ หรือบวมทะลุออกนอกแคปซูลของต่อมลูกหมาก แต่จะแพร่กระจายออกไปยังกระดูก ซึ่ง แพทย์สามารถตรวจหาการแพร่กระจายจากการสแกนกระดูก และยังมีวิธีตรวจโดยเครื่องวินิจฉัยด้วยสนามแม่เหล็ก หรือ MRI ร่วมกับการใช้อุปกรณ์เฉพาะ ที่เรียกว่า Endorectal Coil ก็จะช่วยให้ทราบระยะของโรคมะเร็งชนิดนี้ ที่จะแบ่งระยะของโรคเป็นแบบเฉพาะที่ และแบบแพร่กระจาย ซึ่งมีวิธีการรักษาแตกต่างกันออกไป


มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งต่อมลูกหมาก

          ส่วนการรักษา มะเร็งต่อมลูกหมาก นั้น มีหัวใจสำคัญ คือ ต้องมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตหลังการรักษาน้อยที่สุด หรือไม่มีได้จะยิ่งดี รวม ทั้งพยายามไม่ให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยวะ และคงหน้าที่ให้ใช้งานได้ดังเดิม เช่น ขับถ่ายปัสสาวะต้องไม่ลำบาก ไม่ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

          แต่ก่อนที่จะเลือกวิธีรักษาให้ได้ผลสูงสุด แพทย์ต้องทราบระยะของโรคก่อนว่าเฉพาะที่ หรือแพร่กระจาย รวมทั้งความเสี่ยงอยู่ในระดับ ต่ำ กลาง หรือสูง เพราะการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากมีทั้งการผ่าตัดรักษา และการใช้รังสี

          เริ่มที่การผ่าตัด แบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ ผ่า ตัดเปิดหน้าท้องผ่านเข้าไปยังต่อมลูกหมาก ยังมีการส่องกล้องให้เห็นภาพเพื่อตัดชิ้นส่วนของมะเร็ง และใช้หุ่นยนตร์ช่วยผ่าตัด ทั้ง 3 วิธีไม่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าวิธีใดจะดีไปกว่ากัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของอาการที่เกิด

          ส่วนการใช้รังสีรักษา ได้แก่ การฉายรังสีจากภายนอก มัก จะใช้กับผู้ป่วยที่มะเร็งยังอยู่เฉพาะที่ ในระดับความเสี่ยงต่ำ ใช้เพียงวิธีนี้อย่างเดียวก็มีสิทธิหาย และยังมีแบบไอจีอาร์ที (IGRT: Image Guided Radiation Therapy) ใช้ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากโดยเฉพาะ เหมาะกับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเฉพาะที่ความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวได้ จึงจำเป็นต้องจับภาพนั้นให้เห็นชัดเจน เพื่อฉายรังสีถูกตำแหน่ง หลบเลี่ยงการรบกวนอวัยวะอื่น ๆ

          สำหรับการรักษาด้วยการใช้รังสี ยังมีการฝังแร่แบบถาวรและชั่วคราว สำหรับ แบบถาวรนั้น แพทย์จะฝังเม็ดกัมมันตภาพรังสีไว้ในร่างกาย โดยใช้แร่ชนิด ไอโอดีน 125 กับผู้ป่วยที่มะเร็งอยู่เฉพาะที่ ความเสี่ยงต่ำ ส่วนการฝังแร่แบบชั่วคราวจะใช้แร่อีรีเดี่ยน 192 ฝังให้กับผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากเฉพาะที่ ความเสี่ยงปานกลางหรือสูง

          หากโรคเข้าสู่ระยะแพร่กระจาย ที่มักจะแพร่ไปยังกระดูกทำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด แพทย์จะฉายรังสีไปที่กระดูกร่วมกับการให้ฮอร์โมนต้านฮอร์โมนเพศชาย ทั้ง นี้วิธีการรักษามะเร็งชนิดนี้ยังมีอีกมากมาย เช่น การใช้เคมีบำบัด ส่วนการตัดต่อมลูกหมากออกมักจะเป็นทางเลือกสุดท้ายในการรักษา เพราะค่อนข้างกระทบกับคุณภาพชีวิตของคุณผู้ชาย



http://health.kapook.com/view4913.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก