โรคเอ็นอักเสบ (Tendinitis)

เอ็นอักเสบ

โรคเอ็นอักเสบ (Tendinitis) (Medical Link)

          โรค เอ็นอักเสบ (Tendinitis) เป็นโรคที่พบได้บ่อย ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด บริเวณตำแหน่งของเส้นเอ็นที่เกิดการอักเสบขึ้น มักเป็นที่บริเวณหัวไหล่ ข้อศอก ข้อเข่า แต่ก็อาจเกิดขึ้นที่บริเวณข้อสะโพก ข้อเท้า และข้อมือ ได้เช่นกัน

          โรคเอ็นอักเสบที่รู้จักกันดีมีชื่อเรียกเฉพาะ ได้แก่ tennis elbow, golfer’s elbow, pitcher’s shoulder, swimmer’s shoulder และ jumper’s knee

          โรคข้อศอกเทนนิส โรคสุดฮิตของคนใช้ข้อมือและข้อศอกบ่อยๆ การทำงานไม่ว่าจะเป็นงานหนักหรืองานเบา มักมีการกระดกข้อมือและเหยียดศอกอยู่เสมอ เช่น การปัดกวาดบ้าน การทาสี การตีกลอง ตลอดจนการเล่นกีฬาต่าง ๆ

          นิ้วล็อก หมายถึง อาการที่งอข้อนิ้วมือ แล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้เหมือนถูกล็อก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป ที่ต้องใช้มือจับสิ่งของหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องบ่อย ๆ โรคนี้ไม่มีอันตรายใด ๆ เพียงแต่ให้ความรู้สึกเจ็บปวด

สาเหตุของโรค

          อาการเอ็นอักเสบที่ข้อมือ (De quervain’s Tenosynovitis) เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเอ็นของเส้นเอ็นบริเวณข้อมือ 2 เส้น ทำ ให้เกิดการตีบหรือหดตัว การเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นภายใน โดยส่วนใหญ่สาเหตุของอาการเกิดจากความเสื่อมสภาพจากอายุที่มากขึ้น รวมถึงโรคข้ออักเสบเรื้อรัง

          สาเหตุ ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิด โรคเอ็นอักเสบ คือ ภยันตรายต่อเส้นเอ็น การกระทบกระแทก หรือการใช้งานบ่อยๆ  ไม่ว่าจะเป็นจากการทำงานเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุ

          อาจพบว่าเกิดขึ้นในโรคข้ออักเสบทั่วร่างกาย เช่น ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ นักว่ายน้ำ นักเทนนิส นักกอล์ฟ มีโอกาสเกิดโรคเอ็นอักเสบบริเวณหัวไหล่ แขน ข้อศอก มากกว่าปกติ ในขณะที่นักฟุตบอล นักบาสเกตบอล นักวิ่ง จะเกิดโรคเอ็นอักเสบบริเวณขา เข่า และเท้า ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดโรคเอ็นอักเสบมากขึ้น

อาการของโรค

          ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดบริเวณเส้นเอ็นที่เกิดการอักเสบ ความรุนแรงแตกต่างกันไป อาจปวดเพียงเล็กน้อย หรือปวดมากจนทนไม่ได้ ในรายที่อาการรุนแรงเส้นเอ็นที่อักเสบเกิดฉีดขาด จะมีอาการที่รุนแรงมากที่สุด

          โรค Tennis elbow จะปวดปริมาณข้อศอกเวลาขยับหมุนข้อศอก หรือเวลากำสิ่งของในมือ

          โรค Achilles tendinitis จะปวดบริเวณเอ็นร้อยหวาย

          โรค Patellar tendinitis จะปวดบริเวณสะบ้า

          ในขณะที่ Rotator cuff tendinitis จะปวดบริเวณหัวไหล่

          ในเบื้องต้นหากเกิดที่มือ จะมีอาการช้ำ ระบม บริเวณนิ้วโป้งด้านปลายแขนใกล้กับข้อมือ ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาการเจ็บปวดจะเพิ่มขึ้นและขยายไปยังบริเวณปลายแขนช่วงข้อมือ และนิ้วโป้ง หากมีอาการรุนแรงมาก จะเกิดการบวมบริเวณปลอกหุ้มเอ็นใกล้ ๆ กับข้อมือ และทำให้การหยิบจับด้วยนิ้วโป้ง และมือจะมีอาการเจ็บปวดมากขึ้น

หากมีอาการ เอ็นอักเสบ ที่ข้อมือ จะได้รับการรักษาอย่างไร

          การ อักเสบของเส้นเอ็น (tendon) มักมีสาเหตุจากการได้รับบาดเจ็บ หรือทำงานหนัก มีอาการเจ็บปวดตรงเส้นเอ็นที่อักเสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ทำให้เส้นเอ็นส่วนนั้นถูกยืด และดึงรั้ง อาการมักจะเป็นอยู่นานเป็นสัปดาห์ ๆ หรือเป็นเดือน ๆ สิ่งที่ตรวจพบเมื่อใช้นิ้วมือกดแรง ๆ จะพบจุดที่กดเจ็บจุดเดียว ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณข้อ บางคนอาจมีอาการบวมของเส้นเอ็นส่วนนั้นร่วมด้วย

          คุณควรหยุดพักการใช้งานบริเวณมือและนิ้วโป้งซ้ำ ๆ บ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวของมือ เช่น การหยิบของหนัก การเขียน หรือการบิดหมุนข้อมือ ควรให้ข้อมืออยู่ในแนวระนาบเดียวกับแขน ในเบื้องต้น แพทย์อาจจะแนะนำให้เข้าเฝือกบริเวณแขนและนิ้วโป้ง เพื่อให้ข้อมือและกระดูกข้อต่อบริเวณใต้นิ้วโป้งอยู่กับที่ ลดการใช้งานของเส้นเอ็น รวมถึงรับประทานยาแก้อักเสบ เพื่อลดอาการบวมของเยื่อหุ้มเอ็นและบรรเทาอาการเจ็บปวดได้

การวินิจฉัยโรค

          จากประวัติอาการ ตำแหน่งที่เกิดการอักเสบ และตรวจร่างกายระบบกระดูกและข้อโดยละเอียด การตรวจภาพรังสีมักจะไม่ช่วยในการวินิจฉัยโรคแต่อย่างใด แต่อาจช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคที่เป็นสาเหตุ ทำให้เกิดอาการได้ในบางกรณี หากสงสัยว่าเกิดจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แพทย์อาจพิจารณาตรวจเลือดเพิ่มเติม

เอ็นอักเสบ


แนวทางการรักษาโรค

          หลัก สำคัญคือ ระงับอาการปวด และลดการอักเสบที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้เต็มที่ งดใช้งานข้อบริเวณที่เส้นเอ็นอักเสบ ควรประคบด้วยความเย็นเป็นครั้งคราว การใช้ยาแก้ปวดช่วยบรรเทาอาการได้ตามสมควร การใช้ยาลดการอักเสบช่วยให้อาการดีขึ้น

          ในรายที่เป็นมาก แพทย์อาจพิจารณาฉีดยา Corticosteroid เข้าไปรอบ ๆ บริเวณเส้นเอ็นที่เกิดการอักเสบ ช่วยลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดได้มาก แต่ทั้งนี้ไม่ควรฉีดบ่อย จะทำให้เส้นเอ็นไม่แข็งแรงและอาจฉีกขาดได้

          กายภาพบำบัด และการออกกำลังกาย เพื่อเสริมกำลังของกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นแข็งแรงขึ้น

          การผ่าตัด ในกรณีที่เส้นเอ็นเกิดการฉีกขาด เทคนิคการซ่อมเส้นเอ็นทำได้หลายแบบ รวมทั้งการผ่าตัดเพื่อเสริมความแข็งแรงของเส้นเอ็นอีกด้วย ที่สำคัญคือ

          1.ควรหยุดพักการใช้ข้อที่ปวด ใช้ถุงน้ำร้อนประคบ ทานวดด้วยขี้ผึ้งน้ำมันระกำ หรือยาหม่อง ใช้ผ้าพันแผลชนิดยืดพันให้พอแน่น กินยาแก้ปวด และยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ เช่นเดียวกับการดูแลผู้ป่วยข้อแพลง เมื่อทุเลาปวดให้ค่อย ๆ เคลื่อนไหวบริหารข้อนั้นให้คืนสู่สภาพปกติ

          2.ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ ควรแนะนำไปโรงพยาบาล อาจต้องเอกซเรย์ (บางคนอาจพบมีหินปูน หรือแคลเซียมเกาะที่เส้นเอ็น) ในรายที่เป็นมากอาจต้องฉีดสเตอรอยด์ตรงบริเวณที่ปวด (การฉีดยาชนิดนี้อาจทำให้ปวดมาก บางครั้งอาจต้องผสมยาชา) ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่ได้ผลดี แต่ไม่ควรฉีดเกินปีละ 2-3 ครั้งอาจทำให้เส้นเอ็นเปื่อยฉีดขาดได้

          หาก คุณมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นเอ็นอักเสบที่ข้อมือ ทางที่ดีควรมาพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยและดูแลรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่ต้องทนทรมานกับอาการเจ็บปวดข้อมือ ที่คุณต้องพึ่งพาใช้งานไปอีกนาน

http://health.kapook.com/view9313.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Medical Link